วันพุธที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

ธรรมศึกษา เรียนแล้วได้อะไร

(ภาพประกอบ)
มองเป็นเห็นธรรม : ธรรมศึกษา เรียนแล้วได้อะไร


หลวงพ่อครับ ๒๖ พฤศจิกายนนี้ ผมจะสอบธรรมศึกษาชั้นตรีครับ”

“ดีแล้ว เรียนแล้วต้องสอบ จะได้รู้ว่าเรียนเข้าใจแค่ไหน”

“รุ่นพี่บอกว่าไม่ต้องอ่านหนังสือก็สอบได้ครับ”

“จะสอบได้ยังไง?”

“ถามพระอาจารย์ครับ ท่านใจดีออก ผมสอบตก ท่านก็เสียชื่อแย่เลย”

“แล้วไม่คิดว่านั่นเป็นการทุจริตหรือ?”

“ทุจริตแบบรู้กันน่ะหลวงพ่อ ไม่เป็นไรหรอกครับ”

“นี่เห็นเรื่องทุจริตเป็นเรื่องชอบ แบบนี้ก็ไม่ดีนะ รู้ไหมทำไมเขาจึงจัดสอนธรรมศึกษา”

“ไม่รู้ครับ”

“นี่เป็นส่วนพระราชปรารภในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ตอนหนึ่งความว่า “เรื่องการศึกษานี้ ขอให้ทราบ ช่วยคิดให้มากๆ จนถึงรากเหง้าของการศึกษาในเมืองไทย อย่าตัดช่องไปแต่การข้างวัด อีกประการหนึ่ง การสอนศาสนาในโรงเรียน ทั้งในกรุงและหัวเมือง จะต้องให้มีขึ้น ให้มีความวิตกไปว่า เด็กชั้นหลังจะ ห่างเหินศาสนา จนเป็นคนไม่มีธรรมในใจมากขึ้น เมื่อเป็นเช่นนั้น จะถือว่าเหมือน อย่างทุกวันนี้ คนที่ไม่รู้อะไรก็มีมาก ต่อไปภายหน้า ถ้าคนที่ได้เล่าเรียนคงจะประพฤติตัวดีกว่าคนที่ไม่ได้เล่าเรียนนั้น หาถูกไม่ คนที่ไม่มีธรรมเป็นเครื่องดำเนินตาม คงจะหันไปหาทางทุจริตโดยมาก ถ้ารู้น้อยก็โกงไม่คล่อง ฤาโกงไม่สนิท ถ้ารู้มากก็โกงมากขึ้นและโกงพิสดารมากขึ้น” เพราะเหตุนี้คณะสงฆ์ไทยจึงพยายามจัดการสอนธรรมศึกษาในโรงเรียนให้มากขึ้น แม้จะไม่ค่อยได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลมากนัก แต่อาศัยจิตใจที่มุ่งมั่นจะพัฒนาประเทศชาติให้มีความเจริญสมตามพระราชปรารภ ท่านก็ขวนขวายสั่งสอนธรรมศึกษาแก่นักเรียนมาอย่างยาวนาน ตั้งแต่ พ.ศ.๒๔๗๒ ถึงปัจจุบันนี้ ก็ร่วม ๘๐ ปีแล้ว”

“โอ้โห พระองค์ท่านรู้ล่วงหน้าเลยหรือครับ ว่าจะมีการโกงในปัจจุบัน”

“ก็ขนาดเราเรียนธรรมศึกษา ยังจะทำทุจริต โกงการสอบแล้ว ความไม่เจริญของประเทศชาติในปัจจุบันก็เพราะความขาดธรรมในใจนั่นเอง”

“ก็พระอาจารย์ใจดีนี่ครับ”

“เดี๋ยวหลวงพ่อคงต้องไปกำราบพระอาจารย์เราแล้วล่ะ ช่างไม่มีสมณสัญญาเลย”

“แต่นักเรียนสอบตกมาก พระอาจารย์ก็เสียชื่อเสียงนะครับ”

“เพราะความคิดแบบนี้ การศึกษาของชาติจึงไม่พัฒนาเลย นักเรียนสมัยนี้ส่วนใหญ่จึงขาดความกระตือรืนร้นในการเรียน คิดกันไปว่าเรียนๆเล่นๆเดี๋ยวก็สอบผ่าน ครูต้องช่วยให้ตนเองผ่าน นโยบายการศึกษางี่เง่าแบบนี้ จึงทำให้เราคิดได้แค่นี้”

“หลวงพ่อ.. ไม่แรงไปหน่อยหรือครับ”

“นักเรียนสอบตกเพราะไม่ขยัน ครูผิดหรือนักเรียนผิด?”

“นักเรียนครับ”

“ครูไม่ตั้งใจสอน ไม่ตั้งใจทำหน้าที่ครู นักเรียนสอบตก ครูผิดไหม?”

“ผิดครับ”

“คนที่ไม่รู้จักหน้าที่ตนเอง ไม่รับผิดชอบหน้าที่ตนเอง ก็ผิดแล้ว เพื่อนเราที่เรียนเก่งมีใครอยากเป็นครูบ้างไหม?”

“ไม่มีครับ ส่วนมากอยากเป็นหมอ เป็นวิศวะ กันหมดครับ มีแต่คนเรียนไม่เก่งเท่านั้นล่ะครับ ที่จะไปเป็นครู”

“แล้วที่โกงกินประเทศชาติตอนนี้ เป็นคนเรียนเก่งหรือไม่เก่ง”

“ผมว่าพวกเรียนไม่เก่งครับ”

“จริงๆ คงจะเรียนเก่งก็มี แต่ไม่ได้เรียนธรรมศึกษาจากพระอาจารย์ที่เป็นครูจริงๆมากกว่า จึงได้โกงพิสดารเหมือนที่พระราชปรารภไว้ ประเทศไทยจึงวิบัติเสียหายเช่นทุกวันนี้”

“หลวงพ่อครับ.. แรงไปไหมครับ”

“ไม่หรอก ความจริงก็คือความจริง ไม่พูดแบบนี้ เราจะจำไว้ในจิตใจหรือ”

“ผมน่ะจำได้ครับ ก็ผมฟังหลวงพ่อนี่ครับ คนอื่นเขาไม่ได้ฟังนี่ครับ”

“ก็จำคำหลวงพ่อไปพูดให้คนอื่นเขาฟังซิ”

“ครับ”

“แล้วรู้ไหมว่า การสอบแบบกากบาท ฝนดินสอนี่ ทำให้นักเรียนไม่ได้พัฒนาสมองเลย”

“อ้าว.. แล้วเขาสอบแบบนี้ทำไมล่ะครับ”

“ก็ครูมักง่าย เอาความสะดวกส่วนตัวเป็นหลัก จึงทำให้การศึกษาของประเทศไทยล้าหลังประเทศอื่นๆ มากขึ้น”

“ประเทศเราได้เหรียญทองโอลิมปิควิชาการหลายเหรียญนะหลวงพ่อ”

“กี่คนล่ะ พวกนั้นหัวกะทิที่อบรมเป็นพิเศษหรือเปล่า?”

“จริงครับ”

“อย่าไปเอาส่วนน้อยนิดเช่นนั้น มาบอกว่าส่วนใหญ่ดีเลย มีถึง ๑%หรือเปล่าก็ไม่รู้”

“ไม่ถึงครับ”

“การสอบแบบปรนัย เขาจัดขึ้นมาเพื่อพวกกรรมกรในโรงงาน ที่มีเวลาในการเรียนน้อย การเรียนรู้วิชาต่างๆ ที่จัดให้คนกลุ่มนี้จึงต้องอาศัยความจำเป็นหลัก และหวังผลเร็ว เขาจึงจัดสอบแบบปรนัย กากบาท ในระบบการศึกษาที่มุ่งเน้นคุณภาพ เขาจะเน้นการสอบแบบความเข้าใจหรือแบบอัตนัย ซึ่งตอนนี้ไม่รู้ว่ามหาวิทยาลัยบ้านเราจะมีสักกี่แห่งที่สอบแบบนี้ การสอนให้นักเรียนเข้าใจในหลักสูตร เป็นความพยายามอย่างยิ่งของครู ความใฝ่ใจเรียนรู้ของนักเรียน จนเกิดความเข้าใจตามหลักสูตรก็สำคัญ ผลงานของครูกับนักเรียน ก็คือผลการสอบแบบอัตนัย นักเรียนที่มีความเข้าใจก็จะพัฒนาองค์ความรู้ของตนให้สามารถสร้างความเจริญ ในกิจการตามหน้าที่ได้ดียิ่งขึ้นตามลำดับ เราคิดว่าเป็นไงแบบนี้ ?”

“ยากครับ ไม่อ่านหนังสือ ไม่ขยันเรียน หรือทำความเข้าใจ ก็ตกสิครับ”

“รู้ไหม ในการสอบความรู้ครั้งแรกของประเทศไทย เมื่อ พ.ศ. ๒๔๒๗ รัชกาลที่ ๕ ทรงมีพระบรมราชโองการกำหนดไว้ว่า “วิชาที่จะไล่ชั้นประโยค ๒ นั้น ๘ อย่าง คือ ลายมือหวัดแลบรรจง อย่าง ๑ เขียนหนังสือ ใช้ตัววางวรรคถูกตามใจความ ไม่ต้องดูแบบ อย่าง ๑ ทานหนังสือที่ผิด คัดจากลายมือหวัด อย่าง ๑ แต่งจดหมาย อย่าง ๑ แต่งแก้กระทู้ความร้อยแก้ว อย่าง ๑ วิชาเลข อย่าง ๑ ทำบัญชี อย่าง ๑ ผู้ใดมีความรู้ไล่สอบได้ตลอดวิชาทั้ง ๘ อย่าง เป็นชั้นประโยค ๒ นี้ ถ้าเป็นไพร่หลวง ฤาไพร่สม กรมใดๆ ก็จะทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ขาดจากสังกัดเดิม ได้หนังสือพิมพ์คุ้มสักตลอดชีวิต ถ้าเป็นผู้จะรับราชการสนองพระเดชพระคุณ ก็จะทรงพระกรุณาชุบเกล้า ฯ เลี้ยงตามสมควรแก่คุณารูปถ้วนทุกคน ถ้าไม่สมัครจะรับราชการ จะไปทำการที่ใดๆ ก็จะพระราชทานพระบรมราชานุญาต ไม่ขัดขวาง” ทรงให้มีการสอบแต่งแก้กระทู้ความร้อยแก้ว เป็นวิชา ๑ ใน ๘ วิชา คนที่สอบผ่านชั้นนี้ได้ ก็จะได้รับพระมหากรุณาธิคุณ ตามสมควรแก่ฐานะ เหตุนี้ในการสอบธรรมศึกษา จึงยังคงให้มีวิชาเรียงความแก้กระทู้ธรรมอยู่ไงล่ะ”

“โอ๊ย.. ยากครับ เรียงความเนี่ยะ เขียนเยอะด้วย”

“ก็ถ้าเราตั้งใจเรียนวิชาธรรมวิภาค พุทธประวัติ เบญจศีลเบญจธรรม การเขียน เรียงความก็ไม่ยากหรอก เพราะมีข้อมูลสำหรับเขียนมากมายเลย”

“โอ้โห เนื้อหาตั้งเยอะครับ”

“เราลองมาดูธรรมวิภาคหมวด ๒ เริ่มแต่สติเลยนะ คนกินเหล้าเมามาก มีสติไหม”

“ไม่มีครับ ทำกิริยาอาการไม่น่าดูด้วย”

“สติคือความระลึกได้ สัมปชัญญะคือความรู้ตัว คนเมาย่อมไม่รู้ตัวว่าทำอะไรไปในขณะเมา เมื่อมีสติย้อนระลึกถึงตอนที่เมา ก็ไม่สามารถจะระลึกได้ ด้วยเหตุที่การไม่มีสติสัมปชัญญะทำให้คนทำการผิดพลาดมากเหมือนคนเมา ท่านจึงยกย่องให้สติสัมปชัญญะเป็นธรรมมีอุปการะมาก บุรพชนไทยสอนลูกหลานว่าต้องเป็นคนมีสติ ก็หมายความว่าต้องเป็นคนมีสติสัมปชัญญะนั่นเอง”

“ผมก็มีสตินะครับ”

“เราจะรู้ว่าตนเองมีสติหรือไม่ ก็ต้องดูความประพฤติของตนเองว่าเป็นคนมีหิริ ความละอายแก่ใจและ โอตตัปปะ ความเกรงกลัวต่อบาป หรือไม่ ถ้ามีก็จัดว่าเป็นคนมีสติ เมื่อใครมาด่าว่าเราอย่างรุนแรง เรามีอาการปกติ ไม่โกรธเขา ซึ่งเป็นขันติธรรม คือความอดทน และรักษาตนให้มีความสง่างาม คือโสรัจจะ ได้ไหม ถ้าได้ก็จัดว่าเป็นคนมีสติ เมื่อมาระลึกถึงคุณของบุรพการี และมีใจอยากตอบแทนคุณ ท่านด้วยกตัญญูกตเวที เราก็ย่อมไม่ทำสิ่งที่ไม่ดีด้วยหิริโอตตัปปะ นี่ก็เป็นผลของการมีสติสติสัมปชัญญะ เป็นต้นเหตุแห่งธรรมปฏิบัติ ที่นำให้เกิดผลคือหิริ โอตตัปปะ ขันติ โสรัจจะ กตัญญูกตเวที นี่เป็นธรรมปฏิบัติที่นำให้เกิดปฏิเวธธรรม”

“อ้าว ธรรมหมวด ๒ เป็นธรรมปฏิบัติด้วยหรือครับ?”

“ธรรมวิภาคสอนธรรมปฏิบัติเพื่อความสำเร็จของชีวิต ถ้าเราเรียนจนมีความเข้าในในธรรมตามหลักสูตรธรรมศึกษา เราก็จะสามารถน้อมนำธรรมนั้นมาเป็นธรรมปฏิบัติ นำตนไปสู่ความสำเร็จได้ในที่สุด ตามรอยบาทของสมเด็จพระบรมศาสดา”

“แล้วพุทธประวัติ เรียนทำไมครับ ?”

“เรียนเพื่อเราได้รู้จักพระพุทธเจ้า เรียนเพื่อให้เราได้มีอุทาหรณ์ในการพาตนไปสู่ความสำเร็จของชีวิต เหมือนดังที่พระพุทธเจ้าท่านทรงบำเพ็ญมาตลอดพุทธกาล”

“หลวงพ่อขยายความหน่อยได้ไหมครับ”

“เมื่อเจ้าชายสิทธัตถะออกบวช ก็เข้าศึกษาวิชาในสำนักของอาฬารดาบส-อุทกดาบส จนจบหลักสูตร ได้รับคำรับรองว่ามีคุณวุฒิเสมอด้วยอาจารย์ทั้งสอง ท่านก็ไม่หยุดนิ่งความรู้เพียงนั้น ท่านก็ขวนขวนขวายเรียนรู้หาทางไปสู่อมตธรรมตามความเชื่อของคนในยุคนั้น ที่นิยมว่าผู้บำเพ็ญทุกรกิริยาย่อมสามารถบรรลุอมตธรรมได้ เมื่อท่านทดลองตามความเชื่อนั่นจนถึงที่สุดแห่งความไม่เป็นแก่นสารของความ เชื่อนั้น ท่านก็มาบำเพ็ญทางจิต จนทำให้ท่านตรัสรู้ในวันวิสาขบูชาในปีที่ ๖ หลังจากการออกผนวช”

“หลวงพ่อกำลังบอกผมว่าการเรียนรู้ที่ถูกต้อง ต้องเรียนรู้ให้จริงๆ ใช่ไหมครับ?”

“ใช่.. เหมือนพระพุทธเจ้าที่พระองค์ทรงเรียนรู้จนเข้าใจตรงตามความเป็นจริงของ ธรรมชาติ แล้วทรงนำความรู้นั้นมาเผยแผ่สั่งสอนพุทธบริษัทสืบมา”

“ทำไมหลวงพ่อพูดสอนง่ายๆ จังครับ”

“เป็นชาวพุทธ ไม่รู้จักประวัติพระพุทธเจ้า ก็อายคนในศาสนาอื่นแล้ว”

“ก็จริงครับ”

“วิชาเบญจศีลเบญจธรรม เป็นวิชาที่สอนให้เราได้รู้จักกฎเบื้องต้นของการอยู่ร่วมกันในสังคม ถ้าชาวพุทธเคารพมั่น ตั้งใจประพฤติตนอยู่ในกรอบเบญจศีลเบญจธรรม สังคมชาวพุทธนั้นก็จะเป็นสังคมที่มีแต่ความสุขที่ทุกคนควรได้รับอย่างเสมอ ภาค”

“เห็นทุกครั้งในพิธีสงฆ์ ก็ขอศีลกันอยู่เสมอไม่ใช่หรือครับ ?”

“ขอศีล โดยไม่เข้าใจในเรื่องศีล ที่เป็นธรรมปฏิบัติ ก็เหมือนเรียนวิชาก่อสร้าง แต่ไม่ได้ลงมือปฏิบัติ ดังนั้น เมื่อรู้จักเบญจศีลเบญจธรรม ก็ต้องนำไปเป็นธรรมปฏิบัติในการดำเนินชีวิตประจำวัน จึงจะถูกต้องที่สุด”

“ผมไม่เห็นว่าวิชาทั้ง ๓ จะเกี่ยวข้องกันจนนำไปเขียนกระทู้ได้เลยครับ”

“พุทธประวัติสอนให้รู้จักประวัติพระพุทธเจ้า ธรรมวิภาคสอนให้รู้จักธรรมปฏิบัติ เพื่อสุขประโยชน์ขั้นต้น เบญจศีลเบญจธรรมเป็นวินัยในการดำเนินชีวิตของฆราวาส ถ้าทำความเข้าใจในวิชาทั้งสามแล้ว ก็จะเห็นความสัมพันธ์ของวิชาทั้งสามเอง เมื่อจะอธิบายความเห็นพุทธสุภาษิตที่เป็นโจทย์ ก็จะรู้จักการน้อมนำธรรมนำวินัยมาแนะนำแก้ไขปัญหาตามโจทย์ ให้ผู้อ่านได้เกิดความรู้ความเลื่อมใสในธรรม ที่เราเขียนขึ้นมา และน้อมนำธรรมนั้นไปปฏิบัติให้เกิดสุขประโยชน์แก่ชีวิต”

“อ้อ.. มิน่า พระอาจารย์ถึงให้เขียนคำนำว่า บัดนี้ จักได้พรรณนาขยายความแห่งธรรมภาษิตที่ได้ลิขิตไว้ ณ เบื้องต้น เพื่อเป็นแนวทางแห่งธรรมปฏิบัติของพุทธศาสนิกชนผู้ใฝ่ศึกษาพระธรรมต่อไป”

“สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส ทรงนิพนธ์ในคำนำหนังสือเรียงความแก้กระทู้ธรรมว่า “การเรียนธรรม ต้องรู้จักถือเอาความเข้าใจข้อธรรมนั้นๆ จึงจะสำเร็จประโยชน์ เพราะธรรมนั้น สมเด็จพระบรมศาสดาทรงแสดง ด้วยมีพระพุทธประสงค์จะนำผู้ฟังในทางใดทางหนึ่ง แลทรงแสดงโดยสมควรแก่ผู้รับเทศนา เป็นบรรพชิตก็มี เป็นคฤหัสถ์ก็มี เป็นสตรีก็มี เป็นผู้ได้เคยอบรมมา แล้วก็มี ยังก็มี ผู้เรียนจะต้องปฏิบัติให้ถูกพระพุทธประสงค์ แลน้อมให้เหมาะแก่ฐานะของตน จึงจะได้ประโยชน์แห่งการเรียนการปฏิบัติ ฝ่ายผู้จะแสดงธรรมสั่งสอนผู้อื่น ยิ่งต้องการความรู้นี้มากขึ้น ไม่เช่นนั้น ไม่อาจแสดงธรรมให้เหมาะแก่บริษัท เมื่อเป็นเช่นนี้ ไม่อาจปลูกความยินดีในธรรมไว้ในเขา เหตุนั้น การถือเอาความเข้าใจข้อธรรมจึงเป็นสำคัญในการเรียนธรรม พระสาวกผู้ชำนาญในทางนี้ ย่อมเป็นกำลังของสมเด็จพระบรมศาสดาในการแผ่พระพุทธศาสนา พระองค์ทรงสรรเสริญพระกัจจายนะเถระว่าเป็นเอตทัคคะ คือเป็นยอดเยี่ยมแห่งภิกษุผู้รู้จักแจกข้อธรรมอันย่อได้โดยกว้างขวางฯ เมื่อจัดการเรียนธรรม สำหรับภิกษุสามเณร จึงได้จัดความรู้อย่างนี้ไว้ในหลักสูตรอย่างหนึ่ง ให้เรียนโดยวิธีเรียงความแก้กระทู้ ธรรม ที่ตั้งให้ผู้เรียงนำมาอ่านในที่ประชุมกรรมการ ให้กรรมการเลือกให้รางวัลแก่ผู้เรียงดี แลรับใบแก้นั้นไว้ตรวจต่อไป พบข้อบกพร่องในทางธรรมก็ดี ในทางภาษาก็ดี ให้แนะนำให้เข้าใจฯ” ว่าแต่ว่าเข้าใจหรือยังที่หลวงพ่อพูดมานี่”

“นี่คงเป็นเหตุผลของการเรียนธรรมศึกษาที่ถูกต้อง ใช่ไหมครับ?”

“ใช่ การเป็นนักเรียนต้องมีความขยันหมั่นเพียรในการเรียน ตั้งใจเรียน มีธรรมประจำใจ นำพาตนให้เกิดความเข้าใจในหลักสูตรที่ครูสอน จนสามารถทำข้อสอบที่ทดสอบความรู้นั้นได้ นี่จึงสมกับเป็นนักเรียนจริงๆ”

“หลวงพ่อครับ ขอพรหน่อยสิครับ”

“ขอให้ขยันอ่านหนังสือ ทำความเข้าใจในเนื้อหาวิชาแล้วทำข้อสอบธรรมศึกษาด้วยความสบายใจ ไม่ต้องไปหวังสอบผ่านด้วยทุจริตวิธี นี่ล่ะจึงจะสมกับเป็นลูกศิษย์พระพุทธเจ้า เป็นพสกนิกรผู้ทำหน้าที่ตนได้ดีสมตามพระราชปรารภที่กล่าวมา โชคดีนะ”

“กราบลาหลวงพ่อครับ”

“เจริญพร”


บทความ โดย
พระพจนารถ ปภาโส
วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม
๑๕ ตุลาคม ๒๕๕๓
๙.๓๐ – ๑๓.๔๐ น.


หมายเหตุ : ตีพิมพ์ใน หนังสือธรรมลีลา ฉบับที่ 120 พฤศจิกายน 2553 โดย พระพจนารถ ปภาโส วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม
ขอบคุณข้อมูลจาก http://www.gongtham.net

วันพฤหัสบดีที่ 17 ตุลาคม พ.ศ. 2556

สถิติการออกสอบวิชาเรียงความแก้กระทู้ธรรมชั้นตรี

ในบทความนี้มาดูกันว่าสถิติ 5 ปีที่ผ่านมาทางสนามหลวงได้กำหนดสุภาษิตหมวดไหนบ้างมาตั้งเป็นโจทย์ปัญหาให้ผู้เรียนธรรมศึกษาตรีได้สอบและเขียนแต่งแก้กระทู้ธรรมโดยนำสุภาษิตอื่นมาเชื่อมความอีก 1สุภาษิตตามหลักเกณฑ์การแต่งกระทู้ธรรมชั้นตรี ผู้เรียนศึกษาได้จากสถิติด้านล่างนี้

<h1>สถิติการออกข้อสอบวิชากระทู้ธรรมชั้นตรี,สอบธรรมสนามหลวง,ธรรมศึกษาออนไลน์</h1>
จะเห็นว่าจากสถิติสุภาษิตที่ทางสนามหลวงนำมาออกตั้งเป็นโจทย์ปัญหาก็จะอยู่ในขอบข่ายการออกสอบวิชาเรียงความแก้กระทู้ธรรมชั้นตรีทั้ง 5 หมวด คือ หมวดทาน,หมวดบาป,หมวดบุญ,หมวดศีล,และหมวดสติ เท่านั้น และที่สำคัญสุภาษิตที่ออกสอบก็ถือว่าง่ายมาก และผู้เรียนทุกคนสามารถที่จะแต่งอธิบายได้ เพราะทางสนามหลวงเองเขาก็ต้องการให้นักเรียนทำได้ เขียนได้ แต่งได้ อธิบายได้นั้นเองครับ

เอาล่ะครับสำหรับบทความนี้ผมต้องการที่จะนำเสนอสถิติการออกข้อสอบวิชากระทู้ธรรมชั้นตรีแค่นั้นเอง จึงจะไม่ของลงรายละเอียดมากไปกว่านี้ และก็ขอจบไว้เพียงเท่านี้ครับ0.0

เทคนิคการทำข้อสอบวิชาเรียงแก้กระทู้ธรรม

บทความเกี่ยวกับกระทู้ธรรมที่ผ่านมาผมได้พูดถึงเทคนิคและTip&Trick ตัวช่วยแรงๆ ไว้เยอะแล้ว ในบทความนี้ก็ยังจะนำเสนอเทคนิคเช่นเดิมครับ แต่เป็นเทคนิคการทำข้อสอบวิชาเรียงความแก้กระทู้ธรรม หมายถึงว่าเวลาสอบจริงหรือขณะที่กำลังสอบอยู่นั้นควรจะเริ่มทำอะไรก่อน และลงมือเขียนอย่างก่อนนั้นเอง ดังนั้นผู้เรียนธรรมศึกษาควรอ่านทำความเข้าใจกับบทความนี้ดูครับ


<h1>เทคนิคการทำข้อสอบวิชาเรียงความแก้กระทู้ธรรม,ธรรมศึกษาออนไลน์</h1>

ข้อดีของบทความนี้ก็คือจะเพิ่มความละเอียดอ่อนของกระทู้และความถูกต้องสูงให้แก่งานเขียนก็คือวิชาเรียงความแก้กระทู้ธรรมเวลาทำข้อสอบธรรมสนามหลวง มาดูกันเลยครับ

ขั้นตอนที่ 1  เขียนสิ่งที่เตรียมมาลงไว้ในกระดาษเปล่า (กันลืม)
เวลาสอบจริงควรจะเขียนสิ่งที่ตัวเองเตรียมมาลงไว้ในกระดาษเปล่าสักใบไม่ต้องกลัวกระดาษหมดนะครับ (ขอจากกรรมการคุมสอบได้เรื่อยๆ..ของฟรี) สิ่งที่เตรียมมาคืออะไร ก็คือจุดสำคัญที่อยู่ในโครงสร้างกระทู้ รวมถึงสุภาษิตเชื่อ พร้อมที่มาของสุภาษิตนั้น ตลอดจนข้อธรรมะที่เราอ่านไว้ท่องเพื่อจะนำมาอธิบายร่วมนั้นเองครับ ดังนั้นควรเขียนสิ่งที่เตรียมไว้ดังนี้
          > สุภาษิต คำแปลและที่มาของสุภาษิตนั้นให้ถูกต้อง
          > ประเด็นหลักของสุภาษิตที่ต้องอธิบาย และข้อธรรมะอื่นใช้ประกอบอธิบาย
          > ร่างโครงร่างสั้นๆ ไว้ และควรเขียนสิ่งที่จำเป็นต้องเขียนในโครงสร้างกระทู้ไว้ คือ
                   -บัดนี้จักได้อธิบาย............และนำไปปฏิบัติเป็นลำดับต่อไป
                   -สมดังสุภาษิตที่มาใน...............ว่า (ต้องปิดด้วยคำว่า..ว่า) ทุกครั้ง
                   -สมดังสุภาษิตที่ยกขึ้นเป็นนิกเขปบทเบื้อต้นนั้นว่า
                   -มีนัยดังพรรณนามาด้วยประการฉะนี้
                   ทั้งหมดนี้คือจุดสำคัญที่ต้องเขียนในการแต่งกระทู้ธรรม แบบหลีกเลี่ยงไม่ได้

ขั้นตอนที่ 2  ร่างเนื้อไว้ก่อนนำมาเขียนจริง
การที่ผู้สอบร่างเนื้อหาไว้ก่อนเป็นเทนนิคอย่างหนึ่งที่ช่วยเพิ่มถูกต้องของเนื้อหาและลดการเขียนผิด ลดการต้องลบคำผิด เพิ่มความสะอาดของงานเขียนกระทู้ธรรมของเรานั้นเองครับ เมื่อร่างเสร็จแล้วค่อนนำมาเขียนอีกที

ขั้นตอนที่ 3  ลงมือเขียนกระทู้จริงในใบคำตอบ
ขั้นตอนนี้ต่อเนื่องจากขั้นตอนที่ 2 ครับเมื่อร่างเนื้อเสร็จแล้วก็ให้นำมาเขียนลงในใบกระดาษคำตอยจริงที่เราจะใช้ส่งให้กับทางสนามหลวงตรวจและเวลาที่ลงมือเขียนจริงจะต้องเขียนให้ถูกโครงสร้างกระทู้ที่ได้เรียนศึกษามาพร้อมให้ถูกต้องตามหลักเกณฑ์การแต่งกระทู้ และถูกระเบียบการตรวจกระทู้ธรรมสนามหลวงนะครับ (ถ้าทำไม่ถูกแย่เลย)

ขั้นตอนที่ 4  ตรวจความถูกต้องของกระทู้ธรรมก่อนส่ง
หัดเป็นคนรอบคอบไว้ครับ ซึ่งก่อนที่จะนำส่งกระดาษเขียนกระทู้ธรรมก็ควรตรวจดูความเรียบร้อยเสียก่อน โดยเริ่มตรวจดูดังนี้
          -ส่วนหัวกระดาษว่าเขียนเลข ชั้น วิชา วันเดือนปีหรือยัง
          -สุภาษิตคำบาลีและความหมายถูกต้องหรือยัง
          -ย่อหน้ากระดาษครบไหมและตรงกันหรือเปล่า
          -จุดสำคัญที่ต้องเขียนในโครงสร้างกระทู้เขียนถูกต้องเรียบร้อยหรือยัง
          -จุดที่ใช้ลิขิตลบ ได้เขียนใหม่หรือยัง
          -อื่นๆ

แค่นี้ครับเทคนิคการทำข้อสอบวิชากระทู้ธรรมง่ายๆ ซึ่งคนแต่ละคนก็มีเทคนิคที่แตกต่างกันอยู่แล้วเพียงแต่ว่าใครคนใดจะเริ่มเขียนแบบไหนก่อนนั้นเอง ดังนั้นเทคนิคทั้ง 4 ข้อนี้จึงเป็นคำแนะนำอีกทางเลือกหนึ่งเวลาทำข้อสอบวิชาเรียงความแก้กระทู้ธรรมนั้นครับ

สุดท้ายก็ขอจบไว้แต่เพียงเท่านี้นะครับผม อย่าลืมอ่านบทความอื่นๆ ประกอบด้วยนะครับเพิ่มความเข้าใจและทักษะที่แข็งแกร่งของตัวคุณเอง - See more at: http://www.ธรรมศึกษา.com/2013/07/trick-exam-subjects-kratootham.html#sthash.GuBeSQAb.dpuf

เทคนิคการเรียนวิชาเรียงความกระทู้ธรรม

<h1>เทคนิคการเรียนวิชากระทู้ธรรม,ธรรมศึกษา ติวเข้มเตรียมสอบธรรมศึกษา</h1>

บทความนี้จะพูดถึงเทคนิคการเรียนวิชาเรียงความแก้กระทู้ธรรมสำหรับธรรมศึกษาตรี เพราะธรรมศึกษาชั้นตรีเป็นชั้นปฐมภูมิที่ผู้เรียนเองยังไม่มีความรู้พื้นในการเขียนเรียงความแก้กระทู้ธรรมและการเรียนธรรมศึกษาเลย ดังนั้นจำเป็นจะต้องมีเทคนิคการเรียนของแต่ละวิชาเพื่อเป็นตัวช่วยให้ง่ายแก่ความเข้าใจของผู้เรียนเองและการสอบธรรมสนามหลวง ดังนั้นผู้เรียนควรจะทำตามบทความนี้ครับ

ขั้นที่ 1. ฟังคำอธิบายจากครูอาจารย์ให้เข้าใจชัดเจนก่อน
การฟังการอธิบายของครูอาจารย์/พระอาจารย์ถือเป็นขั้นแรกในการเรียนทุกอย่างในโลกเพื่อให้ผู้เรียนมีความเข้าใจและประสบความสำเร็จ ดังนั้นวิชาเรียงความแก้กระทู้ธรรมผู้เรียนธรรมศึกษาควรตั้งใจฟังการอธิบายจากครูอาจารย์ให้เข้าเสียก่อนเป็นอันดับแรก เนื่องจากวิชานี้ผู้เรียนต้องทั้งความเข้า ความจำ ภาษาและความแม่นยำ ผู้เรียนที่มีประสบการณ์การฝึกหัดมาอย่างดีเท่านั้นถึงจะทำข้อสอบวิชานี้ได้สูง

ขั้นที่ 2. ศึกษาโครงสร้างด้วยตนเองอีกครั้งและต้องจำให้ได้
เมื่อผู้เรียนผ่านขั้นแรกมาแล้วในขั้นนี้ก็ควรจะศึกษาทำความเข้าใจด้วยตัวเอง วิธีการศึกษาด้วยตนเองก็ง่ายๆ ครับมีหลักดังนี้
  • ดูตัวเองว่าจำโครางสร้างรูปแบบการเขียนได้ทุกขั้นตอนหรือยัง ตั้งแต่คำเกริ่นนำ(บัดนี้..)ไปจนถึงประโยค ปิดท้าย(มีนัยดังพรรณนามาก็มีด้วยประการฉะนี้)
  • หากจำยังไม่ได้หมดอาจจะใช้วิธีการท่องคำในจุดนั้นๆ ไปเลยเอาให้ใจ
  • แต่ละจุดตามโครงสร้างการเขียนต้องใจให้ได้หมด
ขั้นที่ 3. ท่องสุภาษิตไว้ให้ได้แต่เนิ่นๆ
การท่องจำสุภาษิตควรท่องไว้สัก 2สุภาษิตไว้แต่เนิ่นๆ มันจะมีประโยชน์ต่อผู้เรียนมากครับ เพราะหากท่องได้เร็วเราก็มีโอกาสท่องสุภาษิตอื่นๆ อีก และมันจะช่วยลดความกังวลต่อการจำสุภาษิตของผู้เรียนเอง เราก็จะมีเวลาได้ดูวิชาอื่นๆ ด้วย อย่าลืมนะครับว่าการสอบวิชานี้ผู้เรียนธรรมศึกษาตรีจะต้องนำสุภาษิตที่ท่องไว้เองไปเชื่อมด้วยหนึ่งสุภาษิตพร้อมบอกที่มาของสุภาษิตนั้น

ขั้นที่ 4. ฝึกเขียนอธิบายสุภาษิตที่ตัวเองท่องไว้
เมื่อเราเข้าใจในหลักการวิธีการโครงสร้างการเขียนดีแล้วและจำสุภาษิตได้แล้ว ในขั้นนี้ก็ท่องนำสุภาษิตนั้นมาฝึกหัดเขียนอธิบายสัก 2-3 ครั้ง ประมาณ 1-2 หน้ากระดาษจนให้เกิดความชำนาญเสียก่อน เมื่อนำไปเชื่อมความในการสอบธรรมสนามหลวงจะได้ง่ายขึ้นครับ

Tip: วิชานี้ยิ่งทำตามในขั้นที่ 4 บ่อยมากแค่ไหนก็ยิ่งเพิ่มประสบการณ์และความแข็งแกร่งในการทำข้อสอบของตัวผู้เรียนเอง

สุดท้ายหวังว่าคงจะเป็นแนวทางของผู้เรียนหลายๆ คนนะครับที่จะนำไปใช้ประกอบการเรียนวิชากระทู้ธรรมและบทความเกี่ยววิชากระทู้ผมได้เขียนไว้เยอะก็อย่าลืมอ่านประกอบนะครับ - See more at: http://www.ธรรมศึกษา.com/2013/07/trick-study-kratoo-thammasueksa.html#sthash.vxGzUJ8T.dpuf

ระเบียบการตรวจกระทู้ธรรมสนามหลวง : วิธีให้คะแนนกระทู้ธรรม

สำหรับวิธีการตราวจวิชากระทู้ธรรมของทุกชั้น ทางสนามหลวงได้ตั้งเกณฑ์การให้คะแนนไว้ 7 ข้อด้วยกันเพื่อให้คณะกรรมสนามหลวงได้ยึดในการให้คะแนนเราเวลาตรวจข้อสอบของเรานั้นเอง ซึ่งระเบียบการตรวจนี้ใช้เฉพาะในการสอบสนามหลวงเท่านั้นครับ

<h1>ระเบียบการตรวจกระทู้ธรรมสนามหลวง, สอบธรรมสนามหลวง</h1>
ระเบียบการตรวจกระทู้ธรรมสนามหลวง
คณะกรรมการได้กำหนดแนวทางในการตรวจกระทู้ธรรมและพิจารณาให้คะแนนดังนี้
1. แต่งได้ครบตามกำหนด
2. อ้างสุภาษิตเชื่อมได้ตามกฏ
3. เชื่อมความกระทู้ได้ดี
4. อธิบายความสมกับกระทู้ที่ตั้งไว้
5. ใช้สำนวนสุภาพเรียบร้อย
6. ใช้ตัวสะกดการันต์ถูกต้องตามหลักภาษา
7. สะอาดไม่เปรอะเปื้อนฯ

ระเบียบการตรวจทั้ง 7 ข้อนี้ผมได้อธิบายให้เห็นภาพชัดเจนไว้ในบทความด้านล่างนี้

สำหรับบทความนี้ผมก็ขอจบไว้เพียงเท่านี้ครับ อย่าลืมอ่านบทความอื่นๆ ประกอบด้วยนะครับ
- See more at: http://www.ธรรมศึกษา.com/2013/07/sanamluang.html#sthash.WTgv35oU.dpuf

หลักเกณฑ์การแต่งกระทู้ธรรมชั้นตรี

ผู้จะแต่งกระทู้ธรรม จำเป็นจะต้องทราบหลักเกณฑ์หรือหลักปฏิบัติในการแต่งเขียนเรียงความแก้กระทู้ก่อน ซึ่งเป็นหลักปฏิบัติในการสอบสนามหลวงของวิชากระทู้ธรรม ดังนี้

<h1>หลักเกณฑ์การแต่งกระทู้ธรรมตรี,ธรรมศึกษาตรี</h1>
1. แต่งตามกระทู้ธรรมสุภาษิตที่กำหนดให้
2. อธิบายขยายเนื้อความกระทู้ธรรมสุภาษิตนั้นให้สมเหตุสมผล
3. อ้างสุภาษิตบทอื่นพร้อมทั้งอ้างที่มา มาอธิบายประกอบด้วย 1 สุภาษิต
4. เชื่อมความระหว่างสุภาษิตที่นำมาเชื่อม กับสุภาษิตบทตั้งให้สนิทติดต่อสมเรื่องกันด้วยเหตุผล
5. ให้เขียนลงในกระดาษสอบตั้งแต่ 2 หน้า (เว้นบรรทัด) ขึ้นไป

ดังนั้นหากจะบอกเพียงเท่านี้ผู้เรียนอาจจะมองไม่เห็นภาพชัด ผมจึงขอธิบายขยายความทั้ง 5 ข้อนี้เพื่อให้ผู้เรียนธรรมศึกษาตรีซึ่งเป็นชั้นใหม่ได้เข้าใจชัดเจนยิ่งขึ้นดังนี้ครับ

1. แต่งตามกระทู้ธรรมสุภาษิตที่กำหนดให้
หมายถึงว่าให้เราอธิบายสุภาษิตที่สนามหลวงกำหนดเป็นโจทย์มาให้..(ไม่ใช่ว่าเห็นโจทย์สุภาษิตแล้วคิดว่ามันยากเลยตั้งโจทย์สุภาษิตขึ้นมาใหม่เองแล้วอธิบาย แบบนี้ไม่ได้ครับ)

2. อธิบายขยายเนื้อความกระทู้ธรรมสุภาษิตนั้นให้สมเหตุสมผล
หมายถึงว่าการอธิบายเนื้อหาจะต้องมีสระที่สำคัญ มีเหตุมีผล มีที่มาที่ไป มีตัวอย่างอ้างอิงให้เห็นภาพชัดเจน ที่มีเนื้อหาเกี่ยวเนื่องสัมพันธ์กันกับเรื่องที่ตนเองอธิบายอยู่นั้น ให้เกิดความน่าเชื่อถือแก่ผู้อ่านผู้ฟังให้ได้รับคุณค่า ความรู้ ความคิดสร้างสรรค์นั้นเอง (ไม่ใช่สุภาษิตเป็นเรื่องหนึ่ง ดันไปอธิบายเรื่องหนึ่งซึ่งไม่เกี่ยวข้องกันเลย0^0)

3. อ้างสุภาษิตบทอื่นพร้อมทั้งอ้างที่มา มาอธิบายประกอบด้วย 1 สุภาษิต
หมายถึงว่าในชั้นธรรมศึกษาตรีนี้จะต้องนำสุภาษิต 1 สุภาษิตพร้อมทั้งอ้างมา มาเชื่อมความกระทู้กับสุภาษิตตั้งที่สนามหลวงกำหนดเป็นโจทย์มาให้นั้นเองครับ

4. เชื่อมความระหว่างสุภาษิตที่นำมาเชื่อม กับสุภาษิตบทตั้งให้สนิทติดต่อสมเรื่องกันด้วยเหตุผล
หมายถึงว่าให้เราอธิบายเชื่อมความระหว่าสุภาษิตบทตั้งที่เป็นโจทย์ของสนามหลวง กับสุภาษิตเชื่อมที่เรานำมาเองก็ให้เราอธิบายเนื้อหาของสุภาษิตนั้นให้สนิทติดต่อกันเป็นเรื่องเป็นราวด้วยเหตุ ซึ้งทั้งสองสุภาษิตนั้นมีเนื้อหาพูดถึงเรื่องเดียวกันหรือใกล้เคียงกัน

กรณีสุภาษิตที่เราเตรียมไว้เป็นสุภาษิตเชื่อม ซึ่งเราอาจจะเตรียมไว้สัก 3 สุภาษิต เราก็ต้องเลือกสุภาษิตที่มีความหมายหรือมีเนื้อความเกี่ยวเนื่องสัมพันธ์กับสุภาษิตตั้งให้มากที่สุดในการนำมาเชื่อมความอธิบายเพื่อที่จะให้พุทธสุภาษิตทั้งสองมีความสนิทติดต่อสมเรื่องกันด้วยเหตุผล

แต่ในกรณีที่สุภาษิตที่เราเตรียมไว้เป็นสุภาษิตเชื่อมนั้น ไม่มีสักสุภาษิตเลยที่เข้ากันหรือเชื่อมความกับสุภาษิตบทตั้งได้เลย จะทำอย่างไรละ0.0 ก็ให้เลือกสักสุภาษิตที่เตรียมไว้นั้นแหล่ะมาเชื่อมแล้วก็อธิบายดีๆ มีเหตุผลดีๆ แล้วก็พยายามเขียนให้มีความสัมพันธ์กับสุภาษิตตั้งอย่างไรให้ชัดเจนนั้นเองครับ (ถ้าไม่อยากเจอปัญหาแบบนี้แนะนำให้เตรียมสุภาษิตไว้สัก2-3สุภาษิตครับผม เราจะได้เลือกใช้สุภาษิตที่มีความสนิทต่อกับสุภาษิตตั้งได้อิอิ)

5. ให้เขียนลงในกระดาษสอบ ตั้งแต่ หน้า (เว้นบรรทัด) ขึ้นไป
บางคนพอรู้ว่าต้องเขียนตั้งแต่ 2 หน้ากระดาษขึ้นไปก็หนักใจเลย..แต่อย่าตกใจนะครับ เพราะเราอย่าลืมว่าการเขียนเรียงความแก้กระทู้ธรรมนั้นต้องเว้นบรรทัดด้วยทุกครั้ง และยังต้องเขียนตามโครงสร้างรูปแบบการเขียนอีก ฉะนั้น 2 หน้ายังน้อยไปนะ เผลอๆ เราอาจจะได้ตั้ง 4 หน้าเลยก็ได้ (ถ้าไม่เชื่อก็ลองเขียนแต่งกระทู้ธรรมดูครับ)
- See more at: http://www.ธรรมศึกษา.com/2013/07/writing-kratoo-thamtri.html#sthash.yzIiDhAV.dpuf

เทคนิคการเรียนวิชาเรียงความกระทู้ธรรม

<h1>เทคนิคการเรียนวิชากระทู้ธรรม,ธรรมศึกษา ติวเข้มเตรียมสอบธรรมศึกษา</h1>

บทความนี้จะพูดถึงเทคนิคการเรียนวิชาเรียงความแก้กระทู้ธรรมสำหรับธรรมศึกษาตรี เพราะธรรมศึกษาชั้นตรีเป็นชั้นปฐมภูมิที่ผู้เรียนเองยังไม่มีความรู้พื้นในการเขียนเรียงความแก้กระทู้ธรรมและการเรียนธรรมศึกษาเลย ดังนั้นจำเป็นจะต้องมีเทคนิคการเรียนของแต่ละวิชาเพื่อเป็นตัวช่วยให้ง่ายแก่ความเข้าใจของผู้เรียนเองและการสอบธรรมสนามหลวง ดังนั้นผู้เรียนควรจะทำตามบทความนี้ครับ

ขั้นที่ 1. ฟังคำอธิบายจากครูอาจารย์ให้เข้าใจชัดเจนก่อน
การฟังการอธิบายของครูอาจารย์/พระอาจารย์ถือเป็นขั้นแรกในการเรียนทุกอย่างในโลกเพื่อให้ผู้เรียนมีความเข้าใจและประสบความสำเร็จ ดังนั้นวิชาเรียงความแก้กระทู้ธรรมผู้เรียนธรรมศึกษาควรตั้งใจฟังการอธิบายจากครูอาจารย์ให้เข้าเสียก่อนเป็นอันดับแรก เนื่องจากวิชานี้ผู้เรียนต้องทั้งความเข้า ความจำ ภาษาและความแม่นยำ ผู้เรียนที่มีประสบการณ์การฝึกหัดมาอย่างดีเท่านั้นถึงจะทำข้อสอบวิชานี้ได้สูง

ขั้นที่ 2. ศึกษาโครงสร้างด้วยตนเองอีกครั้งและต้องจำให้ได้
เมื่อผู้เรียนผ่านขั้นแรกมาแล้วในขั้นนี้ก็ควรจะศึกษาทำความเข้าใจด้วยตัวเอง วิธีการศึกษาด้วยตนเองก็ง่ายๆ ครับมีหลักดังนี้
  • ดูตัวเองว่าจำโครางสร้างรูปแบบการเขียนได้ทุกขั้นตอนหรือยัง ตั้งแต่คำเกริ่นนำ(บัดนี้..)ไปจนถึงประโยค ปิดท้าย(มีนัยดังพรรณนามาก็มีด้วยประการฉะนี้)
  • หากจำยังไม่ได้หมดอาจจะใช้วิธีการท่องคำในจุดนั้นๆ ไปเลยเอาให้ใจ
  • แต่ละจุดตามโครงสร้างการเขียนต้องใจให้ได้หมด
ขั้นที่ 3. ท่องสุภาษิตไว้ให้ได้แต่เนิ่นๆ
การท่องจำสุภาษิตควรท่องไว้สัก 2สุภาษิตไว้แต่เนิ่นๆ มันจะมีประโยชน์ต่อผู้เรียนมากครับ เพราะหากท่องได้เร็วเราก็มีโอกาสท่องสุภาษิตอื่นๆ อีก และมันจะช่วยลดความกังวลต่อการจำสุภาษิตของผู้เรียนเอง เราก็จะมีเวลาได้ดูวิชาอื่นๆ ด้วย อย่าลืมนะครับว่าการสอบวิชานี้ผู้เรียนธรรมศึกษาตรีจะต้องนำสุภาษิตที่ท่องไว้เองไปเชื่อมด้วยหนึ่งสุภาษิตพร้อมบอกที่มาของสุภาษิตนั้น

ขั้นที่ 4. ฝึกเขียนอธิบายสุภาษิตที่ตัวเองท่องไว้
เมื่อเราเข้าใจในหลักการวิธีการโครงสร้างการเขียนดีแล้วและจำสุภาษิตได้แล้ว ในขั้นนี้ก็ท่องนำสุภาษิตนั้นมาฝึกหัดเขียนอธิบายสัก 2-3 ครั้ง ประมาณ 1-2 หน้ากระดาษจนให้เกิดความชำนาญเสียก่อน เมื่อนำไปเชื่อมความในการสอบธรรมสนามหลวงจะได้ง่ายขึ้นครับ

Tip: วิชานี้ยิ่งทำตามในขั้นที่ 4 บ่อยมากแค่ไหนก็ยิ่งเพิ่มประสบการณ์และความแข็งแกร่งในการทำข้อสอบของตัวผู้เรียนเอง

สุดท้ายหวังว่าคงจะเป็นแนวทางของผู้เรียนหลายๆ คนนะครับที่จะนำไปใช้ประกอบการเรียนวิชากระทู้ธรรมและบทความเกี่ยววิชากระทู้ผมได้เขียนไว้เยอะก็อย่าลืมอ่านประกอบนะครับ - See more at: http://www.ธรรมศึกษา.com/2013/07/trick-study-kratoo-thammasueksa.html#sthash.SiQPySZM.dpuf

7 Trick การเขียนเรียงความแก้กระทู้ธรรมให้ได้ 100 คะแนนเต็ม

<h1>7 trick การเขียนกระทู้ธรรมให้ได้ 100 คะแนนเต็ม,ธรรมศึกษาและหลักสูตรเรียนธรรมศึกษา</h1>

บทความนี้จะพูดถึงเคล็ดลับการเขียนเรียงความแก้กระทู้ธรรมของธรรมศึกษาทุกชั้น เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้เรียนผู้ที่หวังคะแนนจากวิชากระทู้ธรรม อย่างที่หลายคนเข้าใจว่าวิชากระทู้ธรรมเป็นวิชาที่ทำคะแนนได้ดีกว่าวิชาอื่นๆ อย่างไรก็ตามแม้จะเป็นวิชาที่ทำคะแนนให้เรามากก็จริง ไม่ใช่เพราะว่าเราเขียนได้เยอะเขียนได้หลายหน้ากระดาษซึ่งไม่เกี่ยวกันเลยครับ คนที่ทำคะแนนวิชานี้ได้เยอะเป็นเพราะเขาเขียนถูกต้องตามหลักเกณฑ์ ถูกต้องตามโครงสร้างรูปแบบการเขียนและถูกต้องตามหลักแนวทางในการพิจารณาตรวจกระทู้ธรรมของสนามหลวงนั้นเองครับ ฉะนั้นผู้เรียนควรจะศึกษาและจำบทความนี้ให้ดี


1. ต้องแต่งได้ครบตามกำหนดและถูกต้องตามหลักโครงสร้างการเขียนกระทู้
          ธรรมศึกษาชั้นตรี ต้องเขียนให้ได้ตั้งแต่ 2 หน้ากระดาษคำตอบขึ้นไป เว้นบรรทัดด้วย และให้ถูกต้องตามหลักโครงสร้างการเขียนกระทู้ธรรมตรี
          ธรรมศึกษาชั้นโท ต้องเขียนให้ได้ตั้งแต่ 3 หน้ากระดาษขึ้นไป เว้นบรรทัดทุกครั้งและให้ถูดต้องตามหลักโครงสร้างการเขียนกระทู้ธรรมโท
          ธรรมศึกษาชั้นเอก เขียนให้ได้ตั้งแต่ 4 หน้ากระดาษขึ้นไป เว้นบรรทัดทุกครั้ง และให้ถูกต้องตามหลักโคตรงสร้างการเขียนกระทู้ธรรมเอก

          โครงสร้างกระทู้ธรรม อ่านได้จากบทความนี้
          Tip: อธิบายดี ไม่ดี เขียนให้ได้ครบจำนวนหน้าไปก่อนเลยครับ (แนะนำ)



2. อ้างสุภาษิตเชื่อมได้ตามกฏ พร้อมบอกที่มาให้ถูกต้องชัดเจน
ข้อนี้ผมขอแนะนำว่าให้เตรียมตัวดีๆ หมายถึงท่องสุภาษิตจำให้ได้จำให้ขึ้นใจพร้อมที่มาของสุภาษิตนั้นๆ ตามชั้นเรียนของตัวเองนะครับ
          >>ธรรมศึกษาตรีจะต้องอ้างสุภาษิตอื่นมาประกอบ 1 สุภาษิตพร้อมบอกที่มาก่อนเสมอ
          >>ธรรมศึกษาโทจะต้องอ้างสุภาษิตอื่นมาประกอบ 2 สุภาษิตพร้อมบอกที่มาของสุภาษิต
          >>ธรรมศึกษาเอกจะต้องอ้างสุภาษิตอื่นมาประกอบ 3 สุภาษิตพร้อมพร้อมบอกที่มาของสุภาษิตด้วยและให้ถูกต้องนะครับ


       Tip: การเขียนสุภาษิตแต่ละครั้งควรตวรจดูตัวอักษรที่เป็นภาษาบาลีให้ดี จะต้องใส่จุดพินทุ ( . ) ที่อยู่ข้างล่าง และใส่นิคหิต ( ˚ ) ที่อยู่ด้านบนให้ถูกต้องชัดเจนนะครับ ตัอย่างดูภาพด้านล่างนี้
กระทู้ธรรมและธรรมศึกษาออนไลน์



3. เชื่อมความกระทู้ได้ดี
การเชื่อมกระทู้ให้ได้ดีนั้น ต้องเชื่อมเนื้อความของสุภาษิตแรกกับสุภาษิตที่สอง และที่สาม ที่สีให้มีเนื้อหาเกี่ยวข้องสัมพันธ์กันนั้นเอง เช่น สุภาษิตแรกพูดถึงเรื่องกรรม เราจะยกสุภาษิตเรื่องศีลมาเชื่อมก็ต้องพูดเรื่องกรรมกับศีลให้เกี่ยวข้องกันว่า ศีลนั้นมีประโยชน์ให้คนทำกรรมอย่างไร หรือเพราะเหตุใดคนต้องอาศัยศีลในการสร้างกรรม ดูภาพประกอบนี้
กระทู้ธรรมตรี และธรรมศึกษาตรี
เสร็จแล้วให้บอกที่มาของสุภาษิตที่ยกมาอ้างก่อนว่า สมดังสุภาษิตที่มาใน.............ว่า แล้วจึงเขียนสุภาษิตที่จะยกมาเชื่อมกับเรื่องกรรมนั้นเอง



4. อธิบายความสมกับกระทู้ที่ตั้งไว้
หมายถึงว่าให้เขียนอธิบายเนื้อความของสุภาษิตนั้นๆ ของแต่ละสุภาษิตให้ได้เนื้อหาสาระ มีใจความสัมพันธ์กับสุภาษิตที่เรากำลังอธิบายขณะนั้นและให้มีความหมายที่ถุกต้องสมกับกระทู้หรือสุภาษิตนั้นๆ

      Tip: เมื่อจะเขียนอธิบายสุภาษิตใด ควรทำความเข้าใจกับความหมายของสุภาษิตนั้นๆ ให้เข้าใจก่อนว่า “สุภาษิตนี้พูดถึงเรื่องอะไร กล่าวถึงใคร มีหลักธรรมเกี่ยวกับอะไร” เราก็จะได้อธิบายถูก ยกตัวอย่างมาประกอบถูกนั้นเองครับ



5. ใช้สำนวนสุภาพเรียบร้อย
ข้อนี้เป็นอีกหนึ่งระเบียบที่ทางสนามหลวงให้ความสำคัญมากครับ เพราะการใช้ภาษาที่มีสำนวนสุภาพเรียบ ให้ความเหมาะสม มีพลัง สามารถชักจูงจิตใจผู้อ่านได้นั้นเองครับ ผมจึงขอยกตัวอย่างดังนี้
          คำสำนวนภาษาที่ถูกต้อง เช่น
          -ใช้คำว่า “รับประทาน” แทนคำว่า “กิน
          -ใช้คำว่า “บิดามารดา” แทนคำว่า “พ่อแม่
          -ใช้คำว่า “ข้าพเจ้า,กระผม” แทนคำว่า”กู ,มึง,มัน

          คำสำนวนภาษาที่ไม่ถูกต้องไม่ควรเขียน เช่น
          -คำตลาดหรือภาษาพูด เช่น กินน้ำ ส้นตีน ผัวเมีย เป็นต้น
          -คำแสลง เช่น ซ่า  อื้อซ่า  นิ้งไปเลย  เก๋ากึ๊ก  ส.บ.ม. เป็นต้น
          -คำพื้นเมืองหรือคำภาษาถิ่น เช่น บ่อ ฮ่วย เว้า ห่า คิง หรอ เป็นต้น
          -คำภาษาต่างประเทศ เช่น ฟรี สลัม เคอร์ฟิว คอร์รัปชั่น ฟุตโน้ต เล็คเซอร์ เป็นต้น
          -คำเทคนิค เช่น กระสวน อนุภาค อาทิกัมมิกะ ปัสสัทธิ เป็นต้น
          -คำภาษาหนังสือพิมพ์ เช่น ขายตัว เปิดอก เปิดศึกขยี้ ปลาทูเค็ม เป็นต้น
          -คำเกินความเข้าใจ คือคำพิสดารเกินกว่าที่คนอื่นๆ จะตีความหมายออก เช่น อารัมภบท อารัมภกถา ลิขิตพจน์ รูปนัย อรูปนัย เจตสิก (โอ้ยแค่อ่านก็งงแล้วครับอิอิ) เป็นต้น



6. ใช้ตัวสะกดการันต์ถูกต้องตามหลักภาษา
การใช้ตัวสะกดการันต์ต้องให้ถูกต้องมากที่สุดครับ และพยายามเขียนให้ผิดพลาดน้อยที่สุดครับ (มันก็ต้องผิดพลาดบ้าง) ถ้าเขียนผิดมากๆ กรรมผู้ตรวจก็จะเสื่อมศรัทธาในตัวผู้เขียน ทำให้คะแนนตก (ระวัง) ผมขอยกตัวอย่างคำที่มักเขียนผิดกันบ่อยๆ เช่น สร้างสรรค์ สรรเสริญ บังสุกุล บิณฑบาต ตักบาตร พรรณนา ศัพท์ แพศย์ ศูทร ฯลฯ เป็นต้น




7. สะอาดไม่เปรอะเปื้อน
ข้อนี้จัดว่าเป็นส่วนสำคัญมากอีกส่วนหนึ่ง เพราะอะไร? ก็เพราะว่าการขีดฆ่าหรือขูดลบบ่อยๆ หรือมีรอยลบลิขิตเปเปอร์มากเกินไป เรียงความนั้นก็จะหมดความสวยงามไม่น่าอ่าน หมึกที่ใช้เขียนควรใช้สีน้ำเงินหรือสีดำเท่านั้น สีไม่ควรใช้ เช่น สีแดงสีม่วง สีเขียว ฯลฯ นอกจากนั้นแล้ว ความห่างของตัวอักษรในแต่ละบรรทัด รวมทั้งขนาดของตัวอักษร ควรให้มีขนาดสม่ำเสมอเท่ากันไปโดยตลอด โดยเฉพาะตอนสุดท้ายบรรทัดไม่ควรเขียนบีบตัวอักษร เพื่อบรรจุข้อความให้หมดจนตัวอักษรลีบผิดปกติ แลดูไม่งาม ตัวอย่างดูภาพด้านล่างนี้ประกอบ

เรียนธรรมศึกษาออนไลน์
ความห่างของตัวอักษรแบบนี้ ไม่ควรทำ
หลักสูตรเรียนธรรมศึกษา
ตัวอักษรใหญ่เล็ก อย่าทำ
ติวเข้มเตรียมสอบธรรมศึกษา
ควรให้สม่ำเสมอแบบนี้
บทความธรรมศึกษา
อย่าเขียนบีบตัวอักษร

หลักการทั้ง 7 ข้อที่ผมกล่าวมานี้เป็นระเบียบที่สนามหลวงใช้ในการพิจารณาตรวจวิชากระทู้ธรรมนะครับ ดังนั้นหากผู้เรียนศึกษาดูดีๆ ตามที่ได้กล่าวมาก็จะเห็นว่าไม่ได้ยากอย่างที่คิด เพียงแต่ต้องทำให้ถูกหลักที่สนามหลวงได้ตั้งไว้เท่านั้นเอง

สุดท้ายหากผู้เรียนทำตามวิธีการที่ได้กล่าวมาทั้งหมดได้อย่างสมบูรณ์แบบรับรองได้ว่าสนามหลวงจะต้องให้คะแนน  90 - 100 คะแนนแน่นอนครับ ที่สำคัญอย่าลืมอ่านบทความอื่นประกอบด้วยนะครับและหากยังมีอะไรสงสัยก็ถามได้ด้วยการคอมเม้นไว้ด้านล่างนี้เลยครับ
- See more at: http://www.ธรรมศึกษา.com/2013/07/7-trick-writing-kratoo-for-thammasueksa.html#sthash.A9avt8Lp.dpuf

ข้อห้ามสำหรับการเขียนเรียงความแก้กระทู้ธรรม

<h1>ข้อห้ามสำหรับการเขียนเรียงความแก้กระทู้ธรรม,เรียนธรรมศึกษาออนไลน์และติวเข้มเตรียมสอบธรรมศึกษา</h1>


เพื่อให้ถูกหลักการตรวจของสนามหลวงและไม่ทำให้คะแนนของเราลดน้อยลง บทความนี้จึงขอแนะนำข้อห้ามในการเขียนเรียงความแก้กระทู้ธรรมของธรรมศึกษาทุกชั้นเลย และหากมีอะไรที่เพิ่มเข้ามาใหม่ในอนาคตผมก็จะเร่ง update ให้เรื่อยๆ เพื่อถูกหลักการตรวจของสนามหลวงและเป็นประโยชน์ต่อผู้เรียนครับ


ข้อแรกห้ามใช้ปากกาแดงเขียน
กระทู้ธรรม,ธรรมศึกษา
ปากกาที่สามารถนำมาเขียนเรียงแก้กระทู้ธรรม ให้ใช้ปากกาน้ำเงินและปากกาดำได้เท่านั้น ส่วนปากกาสีอื่นๆ ห้ามใช้เด็ดขาด


ข้อสองห้ามอ้างที่มาของสุภาษิตเชื่อมแบบย่อ
เขียนกระทู้ สอบธรรมสนามหลวง
ทุกครั้งที่อ้างที่มาของสุภาษิตเชื่อมที่เรานำไปเชื่อมความกับสุภาษิตบทตั้งจะตั้งเขียนแบบเต็ม(เช่น สมดังสุภาษิตที่มาใน ขุททกนิกาย ธรรมบท ว่า)


ข้อสามห้ามเขียนติดบรรทัด ต้องเว้นบรรทัดทุกครั้ง)”
กระทู้ธรรมตรี และธรรมศึกษาตรี
ตั้งแต่เริ่มเขียนสุภาษิตบทตั้งก็ต้อง “เว้นบรรทัด” เขียนไปตลอดจนจบ


ข้อสี่ ห้ามอ้างสุภาษิตซ้ำข้อกันแต่จะซ้ำคัมภีร์ได้
เรียงความแก้กระทู้ธรรม,บทความธรรมศึกษา
สำหรับข้อนี้เป็นของธรรมศึกษาโทและเอกเท่านั้นนะครับ คือเวลานำสุภาษิตที่เตรียมไปเชื่อมกับสุภาษิตบทตั้ง อย่าอ้างสุภาษิตบทเดียวกันสองครั้ง แต่จะอ้างที่มาหรือคัมภีร์ซ้ำกันได้

ข้อห้าห้ามเลขด้วยตัวเลขอารบิก
ธรรมศึกษาออนไลน์
ตัวเลขเป็นอีกสิ่งหนึ่งที่สนามหลวงให้ความสำคัญและตั้งหลักเกณฑ์ว่าผู้สอบจะต้องเขียนเฉพาะเลขไทยเท่านั้น ส่วนเลขอารบิกห้ามเขียนลงในกระดาษคำตอบเด็ดขาด


ข้อหก “ห้ามส่งกระดาษเปล่าในการสอบสนามหลวง” (เด็ดขาด)
เขียนเรียงความแก้กระทู้ธรรม และหลักสูตรเรียนธรรมศึกษา
ผมขอแนะนำจากใจเลยว่าวิชานี้คุณจะอธิบายดี ไม่ดี ขอให้เขียนให้เสร็จไว้ก่อนครับและให้ถูกหลักเกณฑ์การเขียน การตรวจของสนามหลวง และโครงสร้างไว้ก่อนนะครับ (ธรรมศึกษาตรีเขียนให้ได้ 2 หน้ากระดาษขึ้นไป ธรรมศึกษาโทเขียนให้ได้ 3 หน้ากระดาษขึ้นไป และธรรมศึกษาเอกเขียนให้ได้ 4 หน้ากระดาษขึ้นไป)

ส่วนเนื้อหาของคุณอาจจะดีบ้างไม่ดีบ้าง ขอให้เป็นดุลพินิจของกรรมการตรวจข้อสอบครับ แต่ถ้าหากคุณไม่เขียนอะไรเลย หรือเขียนได้ครึ่งเดียวหน้าเดียวคุณมีสิทธิ์สอบตกได้ทันทีครับผม (แย่เลย) เพราะว่าหากมีวิชาใดวิชาหนึ่ง ได้คะแนนต่ำกว่า 25 คะแนน แม้จะร่วมครบทุกวิชาแล้วได้เกินกว่าเกณฑ์ที่กำหนดก็ตาม ให้ถือว่าการสอบครั้งนี้เป็นการสอบตก (เจอกันปีต่อไปนะอิอิ)

การให้คะแนนและการตรวจข้อสอบธรรมศึกษา อ่านดูได้จากบทความนี้

สุดท้ายครับหวังว่าคงจะเข้าใจในข้อห้ามทั้งห้าดังกล่าวนั้น การเรียนธรรมศึกษาทุกชั้นจะผ่านในขั้นนั้นๆ ได้ ก็เพราะเราทำถูกหลักการตรวจธรรมสนามหลวงนั้นเองครับ - See more at: http://www.ธรรมศึกษา.com/2013/07/interdict-for-writing-kratootham.html#sthash.W9axrbKO.dpuf

อักษรย่อบอกที่มาของพุทธศาสนสุภาษิต

การเขียนเรียงความแก้กระทู้ธรรมธรรมศึกษาชั้นตรี ธรรมศึกษาชั้นโท และธรรมศึกษาชั้นเอกนั้น ผู้เรียนผู้สอบจำเป็นอย่างมากที่จะต้องอ้างที่มาของพุทธศาสนสุภาษิต เพื่อให้ถูกต้องตามหลักเกณฑ์การเขียนกระทู้และถูกต้องตามหลักปฏิบัติในการสอบสนามหลวง เนื่องจากการอ้างที่มาของสุภาษิตทำให้เกิดความน่าเชื่อถือและถูกต้องว่าผู้เรียนผู้สอบไม่ได้เขียนกระทู้ขึ้นอย่างมัวๆ และที่สำคัญยังเป็นการให้เครดิตกับสุภาษิตและแหล่งที่มาของสุภาษิตทำให้งานเขียนของเราออกมาอย่างสร้างสรรค์และเป็นประโยชน์แก่บุคคลอื่นครับ

<h1>อักษรย่อบอกที่มาของพุทธศาสนสุภาษิต</h1> <h2>พุทธศาสนสุภาษิต,ธรรมศึกษา</h2> <h3>สุภาษิต,เรียนธรรมศึกษาออนไลน์</h3> <h4>ธรรมศึกษาออนไลน์,หลักสูตรเรียนธรรมศึกษ</h4>


TiP : ตัวอักษร สีแดง ด้านซ้าย คือตัวย่อที่มาของสุภาษิต และส่วนตัวอักษร สีน้ำเงิน ด้านขวา คือตัวเต็มของพุทธศาสนสุภาษิต ที่จะต้องนำมาเขียนอ้างที่มาในวิชาเรียงความแก้กระทู้ธรรม  

และสุดท้ายอย่างลืมนะครับ เวลานำที่มาของพุทธศาสนสุภาษิตใดไปอ้างอิงบอกที่มาของสุภาษิตนั้นๆ จะต้องนำ "ตัวเต็ม" ของสุภาษิตนั้นๆ ไปเขียน และอย่าเขียนแบบตัวย่อนะครับ ตัวอย่างดูด้านล่าง
      
<b>ธรรมศึกษาตรี สอนธรรมศึกษา ธรรมศึกษาออนไลน์</b>
เบบนี้ "ถูกต้อง"


<b>ธรรมศึกษา เรียนธรรมศึกษาออนไลน์</b>
แบบนี้ "ผิด"


และหวังว่าบทความนี้คงจะเป็นประโยชน์ต่อผู้เรียนธรรมศึกษาทุกคนนะครับและอย่าลืมจำที่มาของสุภาษิตที่จะนำไปอ้างอิงแม่นๆ นะครับ
...
เครดิตที่มาของพุทธศาสนสุภาษิต : คู่มือหลักสูตรธรรมศึกษาชั้นตรี รวม ๔ วิชา ของสำนักแม่กองธรรมสนามหลวง พ.ศ. ๒๕๕๐
- See more at: http://www.ธรรมศึกษา.com/2013/06/sources-of-buddhasasana-suphasit.html#sthash.hbf02iR5.dpuf