วันพฤหัสบดีที่ 17 ตุลาคม พ.ศ. 2556

7 Trick การเขียนเรียงความแก้กระทู้ธรรมให้ได้ 100 คะแนนเต็ม

<h1>7 trick การเขียนกระทู้ธรรมให้ได้ 100 คะแนนเต็ม,ธรรมศึกษาและหลักสูตรเรียนธรรมศึกษา</h1>

บทความนี้จะพูดถึงเคล็ดลับการเขียนเรียงความแก้กระทู้ธรรมของธรรมศึกษาทุกชั้น เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้เรียนผู้ที่หวังคะแนนจากวิชากระทู้ธรรม อย่างที่หลายคนเข้าใจว่าวิชากระทู้ธรรมเป็นวิชาที่ทำคะแนนได้ดีกว่าวิชาอื่นๆ อย่างไรก็ตามแม้จะเป็นวิชาที่ทำคะแนนให้เรามากก็จริง ไม่ใช่เพราะว่าเราเขียนได้เยอะเขียนได้หลายหน้ากระดาษซึ่งไม่เกี่ยวกันเลยครับ คนที่ทำคะแนนวิชานี้ได้เยอะเป็นเพราะเขาเขียนถูกต้องตามหลักเกณฑ์ ถูกต้องตามโครงสร้างรูปแบบการเขียนและถูกต้องตามหลักแนวทางในการพิจารณาตรวจกระทู้ธรรมของสนามหลวงนั้นเองครับ ฉะนั้นผู้เรียนควรจะศึกษาและจำบทความนี้ให้ดี


1. ต้องแต่งได้ครบตามกำหนดและถูกต้องตามหลักโครงสร้างการเขียนกระทู้
          ธรรมศึกษาชั้นตรี ต้องเขียนให้ได้ตั้งแต่ 2 หน้ากระดาษคำตอบขึ้นไป เว้นบรรทัดด้วย และให้ถูกต้องตามหลักโครงสร้างการเขียนกระทู้ธรรมตรี
          ธรรมศึกษาชั้นโท ต้องเขียนให้ได้ตั้งแต่ 3 หน้ากระดาษขึ้นไป เว้นบรรทัดทุกครั้งและให้ถูดต้องตามหลักโครงสร้างการเขียนกระทู้ธรรมโท
          ธรรมศึกษาชั้นเอก เขียนให้ได้ตั้งแต่ 4 หน้ากระดาษขึ้นไป เว้นบรรทัดทุกครั้ง และให้ถูกต้องตามหลักโคตรงสร้างการเขียนกระทู้ธรรมเอก

          โครงสร้างกระทู้ธรรม อ่านได้จากบทความนี้
          Tip: อธิบายดี ไม่ดี เขียนให้ได้ครบจำนวนหน้าไปก่อนเลยครับ (แนะนำ)



2. อ้างสุภาษิตเชื่อมได้ตามกฏ พร้อมบอกที่มาให้ถูกต้องชัดเจน
ข้อนี้ผมขอแนะนำว่าให้เตรียมตัวดีๆ หมายถึงท่องสุภาษิตจำให้ได้จำให้ขึ้นใจพร้อมที่มาของสุภาษิตนั้นๆ ตามชั้นเรียนของตัวเองนะครับ
          >>ธรรมศึกษาตรีจะต้องอ้างสุภาษิตอื่นมาประกอบ 1 สุภาษิตพร้อมบอกที่มาก่อนเสมอ
          >>ธรรมศึกษาโทจะต้องอ้างสุภาษิตอื่นมาประกอบ 2 สุภาษิตพร้อมบอกที่มาของสุภาษิต
          >>ธรรมศึกษาเอกจะต้องอ้างสุภาษิตอื่นมาประกอบ 3 สุภาษิตพร้อมพร้อมบอกที่มาของสุภาษิตด้วยและให้ถูกต้องนะครับ


       Tip: การเขียนสุภาษิตแต่ละครั้งควรตวรจดูตัวอักษรที่เป็นภาษาบาลีให้ดี จะต้องใส่จุดพินทุ ( . ) ที่อยู่ข้างล่าง และใส่นิคหิต ( ˚ ) ที่อยู่ด้านบนให้ถูกต้องชัดเจนนะครับ ตัอย่างดูภาพด้านล่างนี้
กระทู้ธรรมและธรรมศึกษาออนไลน์



3. เชื่อมความกระทู้ได้ดี
การเชื่อมกระทู้ให้ได้ดีนั้น ต้องเชื่อมเนื้อความของสุภาษิตแรกกับสุภาษิตที่สอง และที่สาม ที่สีให้มีเนื้อหาเกี่ยวข้องสัมพันธ์กันนั้นเอง เช่น สุภาษิตแรกพูดถึงเรื่องกรรม เราจะยกสุภาษิตเรื่องศีลมาเชื่อมก็ต้องพูดเรื่องกรรมกับศีลให้เกี่ยวข้องกันว่า ศีลนั้นมีประโยชน์ให้คนทำกรรมอย่างไร หรือเพราะเหตุใดคนต้องอาศัยศีลในการสร้างกรรม ดูภาพประกอบนี้
กระทู้ธรรมตรี และธรรมศึกษาตรี
เสร็จแล้วให้บอกที่มาของสุภาษิตที่ยกมาอ้างก่อนว่า สมดังสุภาษิตที่มาใน.............ว่า แล้วจึงเขียนสุภาษิตที่จะยกมาเชื่อมกับเรื่องกรรมนั้นเอง



4. อธิบายความสมกับกระทู้ที่ตั้งไว้
หมายถึงว่าให้เขียนอธิบายเนื้อความของสุภาษิตนั้นๆ ของแต่ละสุภาษิตให้ได้เนื้อหาสาระ มีใจความสัมพันธ์กับสุภาษิตที่เรากำลังอธิบายขณะนั้นและให้มีความหมายที่ถุกต้องสมกับกระทู้หรือสุภาษิตนั้นๆ

      Tip: เมื่อจะเขียนอธิบายสุภาษิตใด ควรทำความเข้าใจกับความหมายของสุภาษิตนั้นๆ ให้เข้าใจก่อนว่า “สุภาษิตนี้พูดถึงเรื่องอะไร กล่าวถึงใคร มีหลักธรรมเกี่ยวกับอะไร” เราก็จะได้อธิบายถูก ยกตัวอย่างมาประกอบถูกนั้นเองครับ



5. ใช้สำนวนสุภาพเรียบร้อย
ข้อนี้เป็นอีกหนึ่งระเบียบที่ทางสนามหลวงให้ความสำคัญมากครับ เพราะการใช้ภาษาที่มีสำนวนสุภาพเรียบ ให้ความเหมาะสม มีพลัง สามารถชักจูงจิตใจผู้อ่านได้นั้นเองครับ ผมจึงขอยกตัวอย่างดังนี้
          คำสำนวนภาษาที่ถูกต้อง เช่น
          -ใช้คำว่า “รับประทาน” แทนคำว่า “กิน
          -ใช้คำว่า “บิดามารดา” แทนคำว่า “พ่อแม่
          -ใช้คำว่า “ข้าพเจ้า,กระผม” แทนคำว่า”กู ,มึง,มัน

          คำสำนวนภาษาที่ไม่ถูกต้องไม่ควรเขียน เช่น
          -คำตลาดหรือภาษาพูด เช่น กินน้ำ ส้นตีน ผัวเมีย เป็นต้น
          -คำแสลง เช่น ซ่า  อื้อซ่า  นิ้งไปเลย  เก๋ากึ๊ก  ส.บ.ม. เป็นต้น
          -คำพื้นเมืองหรือคำภาษาถิ่น เช่น บ่อ ฮ่วย เว้า ห่า คิง หรอ เป็นต้น
          -คำภาษาต่างประเทศ เช่น ฟรี สลัม เคอร์ฟิว คอร์รัปชั่น ฟุตโน้ต เล็คเซอร์ เป็นต้น
          -คำเทคนิค เช่น กระสวน อนุภาค อาทิกัมมิกะ ปัสสัทธิ เป็นต้น
          -คำภาษาหนังสือพิมพ์ เช่น ขายตัว เปิดอก เปิดศึกขยี้ ปลาทูเค็ม เป็นต้น
          -คำเกินความเข้าใจ คือคำพิสดารเกินกว่าที่คนอื่นๆ จะตีความหมายออก เช่น อารัมภบท อารัมภกถา ลิขิตพจน์ รูปนัย อรูปนัย เจตสิก (โอ้ยแค่อ่านก็งงแล้วครับอิอิ) เป็นต้น



6. ใช้ตัวสะกดการันต์ถูกต้องตามหลักภาษา
การใช้ตัวสะกดการันต์ต้องให้ถูกต้องมากที่สุดครับ และพยายามเขียนให้ผิดพลาดน้อยที่สุดครับ (มันก็ต้องผิดพลาดบ้าง) ถ้าเขียนผิดมากๆ กรรมผู้ตรวจก็จะเสื่อมศรัทธาในตัวผู้เขียน ทำให้คะแนนตก (ระวัง) ผมขอยกตัวอย่างคำที่มักเขียนผิดกันบ่อยๆ เช่น สร้างสรรค์ สรรเสริญ บังสุกุล บิณฑบาต ตักบาตร พรรณนา ศัพท์ แพศย์ ศูทร ฯลฯ เป็นต้น




7. สะอาดไม่เปรอะเปื้อน
ข้อนี้จัดว่าเป็นส่วนสำคัญมากอีกส่วนหนึ่ง เพราะอะไร? ก็เพราะว่าการขีดฆ่าหรือขูดลบบ่อยๆ หรือมีรอยลบลิขิตเปเปอร์มากเกินไป เรียงความนั้นก็จะหมดความสวยงามไม่น่าอ่าน หมึกที่ใช้เขียนควรใช้สีน้ำเงินหรือสีดำเท่านั้น สีไม่ควรใช้ เช่น สีแดงสีม่วง สีเขียว ฯลฯ นอกจากนั้นแล้ว ความห่างของตัวอักษรในแต่ละบรรทัด รวมทั้งขนาดของตัวอักษร ควรให้มีขนาดสม่ำเสมอเท่ากันไปโดยตลอด โดยเฉพาะตอนสุดท้ายบรรทัดไม่ควรเขียนบีบตัวอักษร เพื่อบรรจุข้อความให้หมดจนตัวอักษรลีบผิดปกติ แลดูไม่งาม ตัวอย่างดูภาพด้านล่างนี้ประกอบ

เรียนธรรมศึกษาออนไลน์
ความห่างของตัวอักษรแบบนี้ ไม่ควรทำ
หลักสูตรเรียนธรรมศึกษา
ตัวอักษรใหญ่เล็ก อย่าทำ
ติวเข้มเตรียมสอบธรรมศึกษา
ควรให้สม่ำเสมอแบบนี้
บทความธรรมศึกษา
อย่าเขียนบีบตัวอักษร

หลักการทั้ง 7 ข้อที่ผมกล่าวมานี้เป็นระเบียบที่สนามหลวงใช้ในการพิจารณาตรวจวิชากระทู้ธรรมนะครับ ดังนั้นหากผู้เรียนศึกษาดูดีๆ ตามที่ได้กล่าวมาก็จะเห็นว่าไม่ได้ยากอย่างที่คิด เพียงแต่ต้องทำให้ถูกหลักที่สนามหลวงได้ตั้งไว้เท่านั้นเอง

สุดท้ายหากผู้เรียนทำตามวิธีการที่ได้กล่าวมาทั้งหมดได้อย่างสมบูรณ์แบบรับรองได้ว่าสนามหลวงจะต้องให้คะแนน  90 - 100 คะแนนแน่นอนครับ ที่สำคัญอย่าลืมอ่านบทความอื่นประกอบด้วยนะครับและหากยังมีอะไรสงสัยก็ถามได้ด้วยการคอมเม้นไว้ด้านล่างนี้เลยครับ
- See more at: http://www.ธรรมศึกษา.com/2013/07/7-trick-writing-kratoo-for-thammasueksa.html#sthash.A9avt8Lp.dpuf

4 ความคิดเห็น:

  1. สาธุ "เป็นประโยชน์มากครับ"

    ตอบลบ
  2. ขอบคุณครับ เป็นประโยชน์มากครับ
    อยากได้เป็นเเบบโครงสร้างอะไรเเบบนี้อ่ะครับ
    จะดีมากเลยย
    ขอบคุณนะครับ

    ตอบลบ