บทความนี้จะเขียนเกี่ยวกับ โครงสร้างหรือรูปแบบของการเขียนเรียงความแก้ กระทู้ธรรม ในระดับ ธรรมศึกษาชั้นตรีเท่านั้น เพื่อให้ผู้ที่เริ่มเรียนหรือเรียนธรรมศึกษาชั้นตรีอยู่นั้น มีแผนการเขียนที่ถูกต้อง ซึ่งจำเป็นอย่างมากที่จะต้องทำความเข้าใจในโครงสร้างรูปแบบการเขียนให้ชัดเจนเสียก่อน ฉะนั้นโปรดทำความเข้าใจในโครงสร้างพื้นฐานเบื้องต้นด้านล่าง
อธิบายเกี่ยวกับโครงสร้างการเขียนเรียงความแก้กระทู้ธรรม
ในการอธิบายของผมจะขออธิบายอยู่ 8 ส่วนตามหมายเลข สีแดง ตามภาพเบื้องต้นนั้นดังนี้
ขั้นตอนที่ 1 คือสุภาษิตบทตั้งเป็นสุภาษิตที่สนามหลวงกำหนดมาให้หรือเรียกว่าโจทย์ของวิชานี้ก็ได้และให้เขียนกึ่งหน้ากระดาษตามภาพ
ขั้นตอนที่ 2 การเขียนอารัมภบทคือ ณ บัดนี้.. ให้ขึ้นบรรทัดใหม่และย่อหน้าแล้วให้เขียนคำเต็มๆ ว่า
ณ บัดนี้จะได้อธิบายขยายความแห่งกระทู้ธรรมสุภาษิตที่ได้ลิขิตไว้ ณ เบื้อต้น พอเป็นแนวทางแห่งการศึกษาและนำไปปฏิบัติสืบต่อไป
ขั้นตอนที่ 3 ตรงนี้เป็นการเริ่มเขียนอธิบายสุภาษิตบทตั้งที่สนามหลวงกำหนดเป็นโจทย์มาให้นั้นเอง ให้เราอธิบายประมาณ 7-10 บรรทัด (เว้นบรรทัดด้วย) พออธิบายได้ใจความตามบรรทัดที่กำหนดไว้แล้ว ให้เขียนคำว่า
สมดังสุภาษิตที่มาใน......ว่า (ต่อท้าย ตรงจุด...นั้นให้เขียนบอกที่มาของสุภาษิเชื่อม ก่อนที่จะเริ่มเขียนสุภาษิตเชื่อมต้องบอกที่มาของสุภาษิตก่อน)
ขั้นตอนที่ 4 การเขียนสุภาษิตเชื่อม เป็นสุภาษิตที่เราท่องไว้ เป็นสุภาษิตที่นำมาเชื่อมความกับสุภาษิตตั้ง เวลาเขียนต้องอยู่กึ่งกลางและตรงกับสุภาษิตบทตั้ง
ขั้นตอนที่ 5 ตรงนี้เป็นการเขียนอธิบายสุภาษิตเชื่อมที่และเช่นเดียวกันต้องให้ได้ประมาณ7-10 บรรทัดพอสมควร
ขั้นตอนที่ 6 คือขั้นตอนการเขียนสรุป ให้ย่อหน้าขึ้นบรรทัดใหม่ เขียนคำว่า สรุปความว่า... การสรุปความนั้น ควรสรุปประมาณ 5-6 บรรทัด เมื่อเขียนสรุปเสร็จแล้วให้เขียนคำว่า สมดังพุทธสุภาษิตที่ได้ลิขิตไว้ ณ เบื้อต้นนั้นว่า จากนั้นสุภาษิตบทตั้งมาปิดตามขั้นตอนที่ 7
ขั้นตอนที่ 7 ให้นำสุภาษิตบทตั้งมาปิดอีกทีตามโครงสร้างด้านบน
ขั้นตอนที่ 8 เป็นการเขียนคำปิดสุภาษิตบทตั้งอีก คือให้เขียนคำว่า มีนัยดังพรรณนามาด้วยประการฉะนี้ โดยไม่ต้องย่อหน้า นี้คือจบขั้นตอนการเขียนกระทู้ธรรมตรีครับไม่ยาก
TiP : ควรจำหลักสำคัญดังนี้
1.การเขียนสุภาษิตต้องอยู่กึงกลางหน้ากระดาษและตรงกัน
2. ตามเลข 2, 3, 5, 6, เวลาเขียนต้องย่อหน้าทุกครั้งนะครับและให้ตรงกัน
3.สิ่งที่ต้องจำให้ได้เองเมื่อลงมือเขียน คือ
-คำอารัมภบท,
-สุภาษิตเชื่อมพร้อมคำแปลและที่มาของสุภาษิตเชื่อม,
-สมดังสุภาษิตที่ได้ลิขิตไว้ ณ เบื้อต้นนั้นว่า
-มีนัยดังพรรณนามาด้วยประการฉะนี้
เหล่านี้ผู้เรียนผู้สอบต้องจำให้ได้เองนะครับ เพราะเวลาสอบจะมีแค่กระดาษขาวเปล่าวๆและโจทย์ปัญหาก็คือสุภาษิตบทตั้งที่สนามสอบนำมาให้เท่านั้น และผู้สอบจะต้องเขียนให้ถูกตามโครงสร้างเบื้องต้นนั้น ฉะนั้นอย่าลืมจำให้ได้นะครับอิอิ
สุดท้ายหวังว่าคงจะไม่ยากนะครับ ผมเชื่อว่าถ้าเราทำความเข้าใจดีๆแล้วลองลงมือเขียนประมาณสองสามครั้งเราก็จะจำรูปแบบโครงสร้างการเขียนเรียงความแก้กระทู้ธรรมได้ขึ้นใจแน่นอน
ทีมา http://www.xn--12c9b1aha5ai6e7a.com/2013/06/form-kratoo-tham-tri.html
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น