วันพฤหัสบดีที่ 17 ตุลาคม พ.ศ. 2556

7 สุภาษิตแรงๆ ธรรมศึกษาตรีใช้สอบธรรมสนามหลวง

<h1>7 สุภาษิตธรรมศึกษาตรีสำหรับเตรียมสอบธรรมสนามหลวง,สอบธรรมสนามหลวง</h1>

บทความนี้ต่อเนื่องจากพุทธศาสนสุภาษิตเล่ม 1 สำหรับธรรมศึกษาชั้นตรี ครั้งก่อน แต่สำหรับบทความจะนำเสนอสุภาษิตที่จำได้ง่ายและบางสุภาษิตในบทความนี้สนามหลวงยังชอบนำมาตั้งเป็นโจทย์สอบในสนามหลวงอีกด้วย ผมจึงได้คัดมาแค่ 7 สุภาษิตแบบเน้นๆ พร้อมการอธิบายเกี่ยวกับหัวข้อของสุภาษิตแบบย่อเพื่อให้ผู้เรียนได้พอรู้ความหมายเป็นแนวทางในการนำไปอธิบายจริงในการสอบสนามหลวงครับ




สุภาษิตที่ 1
<h2>สุภาษิต,ธรรมศึกษา</h2>
ตน ในที่นี้ หมายถึงกุศลกรรมที่เราได้ประพฤติปฏิบัติมา กุศลกรรมหรือความดีเท่านั้นที่จะเป็นที่พึ่งของเราได้ เช่น บุคคลผู้ตั้งอยู่ในศีลธรรม หมั่นประกอบความดี มีชื่อเสียงเกียรติยศปรากฏเป็นที่เคารพนับถือของบุคคลทั่วไป และเมื่อเวลาตายไปแล้วย่อมไปสู่สุคติ เป็นต้น ด้วยเหตุนี้ทุกๆ คนไม่ว่าใครๆ ต่างก็มีตนคือคุณงามความดีเป็นที่พึ่งของตนเท่านั้น จะพึ่งใครไม่ได้เพราะใครทำกรรมใด คนนั้นก็ย่อมได้รับผลของกรรมนั้น


สุภาษิตที่ 2
<h3>เรียนธรรมศึกษาออนไลน์</h3>
บุคคลผู้ปฏิบัติตามธรรมและรู้จักพระธรรมแล้ว ย่อมจะอยู่เป็นสุขเพราะเป็นผู้อยู่ด้วยการสำรวจ กาย วาจาใจ ปราศจากกิเลสเครื่องทำใจให้เศร้าหมอง อยู่ด้วยความไม่ประมาท ด้วยอานิสงส์แห่งการประพฤติธรรมนั้น เขาย่อมได้รับผลแห่งการประพฤตินั้น คือความสบายกาย สบายใจ ซึ่งเป็นความสุขที่เลิศกว่าความสุขทั้งปวงทั้งในโลกนี้และโลกหน้า


สุภาษิตที่ 3
<h4>พุทธศาสนสุภาษิต เล่ม1</h4>
การให้ปันสิ่งใดสิ่งหนึ่งแก่ผู้อื่นด้วยใจบริสุทธิ์ ก็เพื่อสงเคราะห์คนที่ขัดสน คนผู้ตกทุกข์ได้ยาก หรือเพื่อบูชาผู้ทรงคุณแม้ไม่ขัดสน ก็เมื่อบุคคลผู้มีอัธยาศัยกว้างขวาง มีจิตใจโอบอ้อมอารีอย่างนี้ บุคคลนั้นย่อมผูกไมตรีคนอื่นไว้ได้ และผู้ที่ได้รับการอนุเคราะห์หรือบูชาย่อมมีไมตรีจิตเคารพ รักใคร่ตอบแทนตลอดจนหาทางตอบแทนเขาตามสติกำลังของตนๆ จะทำได้


สุภาษิตที่ 4
<h5>บทความธรรมศึกษา</h5>
บาป คือความประพฤติชั่วทางกาย วาจา และใจ ถ้าสาธุชนมาละเว้นเสียได้เด็ดขาดด้วยปรีชาญาณ ทุกข์คือความเดือดร้อนกายใจก็จักไม่เกิดขึ้น ท่านผู้ไม่ทำบาปได้ชื่อว่าปิดประตูอบายภูมิเสียได้ ผู้ไม่ทำบาปแล้ว จึงได้มาบำเพ็ญคุณธรรมให้มีประจำสันดาน ก็จักเป็นทางให้ถึงสุคติโลกสวรรค์ต่อไปตลอดถึงพระนิพพานอันเป็นความสุขเกษมสำราญของผู้มุ่งสันติสุขในพระพุทธศาสนา


สุภาษิตที่ 5
<h6>ธรรมศึกษาตรี</h6>
บุญ คือความกายสบายใจ เป็นชื่อของผลแห่งการกระทำคุณงามความดี บุญนั้นจะเกิดขึ้นได้ด้วยอากาศ 3 อย่าคือ1.บุญสำเร็จด้วยการรักษาศีล 2.บุญสำเร็จด้วยการให้ทาน 3.บุญสำเร็จด้วยการเจริญภาวนา บุคคลผู้กระทำบุญอยู่เนืองนิตย์ ย่อมมีชีวิตที่สูงกว่าคนธรรมดา ดำรงชีวิตอยู่โดยสุขกายสบายใจตลอดเวลายังมีชีวิตอยู่ และเมื่อสิ้นชีวิตไปแล้วก็ได้รับความสุข คือมีสุขคติเป็นที่ไป


สุภาษิตที่ 6
<b>หลักสูตรเรียนธรรมศึกษา</b>
สติ แปลว่า ความระลึกได้ เป็นเครื่องเตือนใจให้ตื่นอยู่เสมอในการกระทำทั้งหมด บุคคลผู้มีสตินั้น เป็นผู้ตื่นด้วยอยู่เสมอ ทำอะไรก็จะไม่ผิดพลาด เพราะมีสติค่อยเตือนให้ตื่นอยู่เสมอ ได้แก่เตือนให้ทำแต่สิ่งที่ดี ที่มีประโยชน์ ไม่ให้ผิดพลาดไปในทางที่ชั่วเสื่อมเสียได้ ดังนั้น บุคคลผู้มีสติจึงประสบแต่สิ่งที่ดีมีประโยชน์เสมอ


สุภาษิตที่ 7
<b>suphasit ,ติวเข้มเตรียมสอบธรรมศึกษา</b>
ศีล มีหลายประเภท โดยยิ่งและโดยหย่อนกว่ากันในเชิงปฏิบัติ คือเป็น จุลศีล ได้แก่ ศีล 5 มัชฌิมศีล ได้แก่ ศีล 8 ศีล 10 และมหาศีลได้แก่ ศีล 227 ศีล 311 เพื่อนำอัธยาศัยของผู้ปฏิบัติตามขั้นให้บริสุทธิ์ผ่องใสและประณีตยิ่งขึ้นโดยลำดับ หรือตามภูมิธรรมอันเป็นบูรพภาคแห่งคุณธรรมเบื้องสูง และยังนำความสุขมาให้แก่ผู้ปฏิบัติตาม สุขอันเกิดจากการรักษาศีลนั้น เช่นไม่กลัวโทษแห่งการประพฤติชั่ว ไม่ต้องตกอบาย มีนรกเป็นต้น

Tip: สุภาษิตทั้งหมดนี้อยู่ในขอบข่ายการออกข้อสอบสนามหลวงทั้ง 5 หมวดที่ได้อธิบายไว้แล้วในหลักสูตรเรียนธรรมตรีที่ประกาศใช้ในปัจจุบัน ดังนั้นจึงถือว่าแต่ละสุภาษิตเน้นๆ ทั้งนั้นที่คัดมาให้สำหรับธรรมศึกษาตรีครับผม แต่หากยังไม่ถูกใจก็สามารถเลือกสุภาษิตอื่นได้จากพุทธศาสนสุภาษิตเล่ม 1 (เท่านั้น) ครับผม
- See more at: http://www.ธรรมศึกษา.com/2013/07/7-suphasit-thammatri-for-exam-sanamluang.html#sthash.BXJF604k.dpuf

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น