วันอังคารที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2556

อธิบายโครงสร้างการเขียนกระทู้ธรรมตรี

บทความนี้จะอธิบายเสริมเข้าใจจากที่เคยเขียนอธิบาย โครงสร้างการเขียนกระทู้ธรรม เพื่อให้ผู้เรียนเกิดความเข้าใจมากยิ่งขึ้นและให้เห็นภาพมากยิ่งขึ้น เพราะวิชาการเขียนเรียงความแก้กระทู้ธรรมเป็นวิชาที่มีความละเอียดอ่อน แม้เราจะสามารถอธิบายได้ดีอย่างไรแต่หากไม่ถูกต้องตามหลักโครางสร้างหรือรูปแบบการเขียน จะต้องมีผลต่อคะแนนของผู้เรียนผู้สอบ ดังนั้นควรศึกษาให้เข้าใจจากบทความนี้เสริมอีกครับ

<b>อธิบายโครงสร้างกระทู้ธรรมตรี,เรียนธรรมศึกษาออนไลน์และธรรมศึกษาตรี</b>

อธิบายโครงสร้างตามลูกศร
ลูกศรสีแดง หมายถึงพุทธสุภาษิตทั้ง 3 นั้นจะต้องเขียนให้อยู่ระหว่างกึ่งกลางหน้ากระดาษ และให้ตรงกันตั้งแต่สุภาษิตตั้ง สุภาษิตเชื่อม และสุภาษิตปิดท้าย จะต้องให้ตรงกันตามแนวลูกศรสีแดงในภาพ

ลูกศรสีเขียว หมายถึงย่อหน้าทุกครั้งจะต้องให้ตรงกันตามแนวลูกศร (การย่อหน้าควรจะประมาณ 5-6 ตัวอักษร หรือ 1 ข้อมือของนิ้วชี้)

ลูกศรสีฟ้า หมายถึงบรรทัดต่อจากที่เราย่อหน้าแล้ว จะต้องเขียนให้ชิดติดเส้นขอบกระดาษพอสวยงาม ไม่ต้องติดมากก็ได้ แต่ตัวอักษรต้องตรงกันเป็นระเบียบตามแนวเส้นลูกศรสีฟ้า

ลูกศรสีดำ หมายถึงเนื้อหาหรือตัวอักษรควรจะชิดสิ้นสุดตามเส้นของกระดาษเขียนนั้นเอง และอย่างเขียนเลยออกมานอกเส้น นอกจากจะดูไม่สวยงามแล้วยังอาจจะมีผลต่อคะแนนการเขียนกระทู้ด้วย

และเมื่อนำมาเขียนก็จะได้ตามรูปแบบด้านล่างนี้ครับ

<b> ธรรมศึกษาออนไลน์ เรียนธรรมศึกษา หลักสูตรธรรมศึกษา</b>

ทริป ธรรมศึกษาโทและธรรมศึกษาเอก ก็ใช้หลักการเดียวกันครับ แม้ว่าโครงสร้างด้านบนจะเป็นของธรรมศึกษาตรี แต่รูปแบบการเขียนก็ใช้ลักษณะเดียวกัน เพียงแต่ว่าธรรมชั้นโทจะต้องเพิ่มสุภาษิตเชื่อมขึ้นมา 2 สุภาษิตและธรรมศึกษาชั้นเอกจะต้องเพิ่มสุภาษิตเชื่อมขึ้นมา 3 สุภาษิตเท่านั้นเอง

สุดท้ายคงจะเข้าใจแจ่มแจ้งชัดเจนนะครับ แต่ถ้าเกิดมีข้อสงสัยก็ลองอ่านบทความอื่นๆ เสริมหรือคอมเม้นถามไว้ด้านล่างครับผม
- See more at: http://www.ธรรมศึกษา.com/2013/06/explain-form-kratootham.html#sthash.kWrQifu6.dpuf
ข้อมูลจาก http://www.xn--12c9b1aha5ai6e7a.com/2013/06/explain-form-kratootham.html

1 ความคิดเห็น: