วันพฤหัสบดีที่ 17 ตุลาคม พ.ศ. 2556

หลักเกณฑ์การแต่งกระทู้ธรรมชั้นตรี

ผู้จะแต่งกระทู้ธรรม จำเป็นจะต้องทราบหลักเกณฑ์หรือหลักปฏิบัติในการแต่งเขียนเรียงความแก้กระทู้ก่อน ซึ่งเป็นหลักปฏิบัติในการสอบสนามหลวงของวิชากระทู้ธรรม ดังนี้

<h1>หลักเกณฑ์การแต่งกระทู้ธรรมตรี,ธรรมศึกษาตรี</h1>
1. แต่งตามกระทู้ธรรมสุภาษิตที่กำหนดให้
2. อธิบายขยายเนื้อความกระทู้ธรรมสุภาษิตนั้นให้สมเหตุสมผล
3. อ้างสุภาษิตบทอื่นพร้อมทั้งอ้างที่มา มาอธิบายประกอบด้วย 1 สุภาษิต
4. เชื่อมความระหว่างสุภาษิตที่นำมาเชื่อม กับสุภาษิตบทตั้งให้สนิทติดต่อสมเรื่องกันด้วยเหตุผล
5. ให้เขียนลงในกระดาษสอบตั้งแต่ 2 หน้า (เว้นบรรทัด) ขึ้นไป

ดังนั้นหากจะบอกเพียงเท่านี้ผู้เรียนอาจจะมองไม่เห็นภาพชัด ผมจึงขอธิบายขยายความทั้ง 5 ข้อนี้เพื่อให้ผู้เรียนธรรมศึกษาตรีซึ่งเป็นชั้นใหม่ได้เข้าใจชัดเจนยิ่งขึ้นดังนี้ครับ

1. แต่งตามกระทู้ธรรมสุภาษิตที่กำหนดให้
หมายถึงว่าให้เราอธิบายสุภาษิตที่สนามหลวงกำหนดเป็นโจทย์มาให้..(ไม่ใช่ว่าเห็นโจทย์สุภาษิตแล้วคิดว่ามันยากเลยตั้งโจทย์สุภาษิตขึ้นมาใหม่เองแล้วอธิบาย แบบนี้ไม่ได้ครับ)

2. อธิบายขยายเนื้อความกระทู้ธรรมสุภาษิตนั้นให้สมเหตุสมผล
หมายถึงว่าการอธิบายเนื้อหาจะต้องมีสระที่สำคัญ มีเหตุมีผล มีที่มาที่ไป มีตัวอย่างอ้างอิงให้เห็นภาพชัดเจน ที่มีเนื้อหาเกี่ยวเนื่องสัมพันธ์กันกับเรื่องที่ตนเองอธิบายอยู่นั้น ให้เกิดความน่าเชื่อถือแก่ผู้อ่านผู้ฟังให้ได้รับคุณค่า ความรู้ ความคิดสร้างสรรค์นั้นเอง (ไม่ใช่สุภาษิตเป็นเรื่องหนึ่ง ดันไปอธิบายเรื่องหนึ่งซึ่งไม่เกี่ยวข้องกันเลย0^0)

3. อ้างสุภาษิตบทอื่นพร้อมทั้งอ้างที่มา มาอธิบายประกอบด้วย 1 สุภาษิต
หมายถึงว่าในชั้นธรรมศึกษาตรีนี้จะต้องนำสุภาษิต 1 สุภาษิตพร้อมทั้งอ้างมา มาเชื่อมความกระทู้กับสุภาษิตตั้งที่สนามหลวงกำหนดเป็นโจทย์มาให้นั้นเองครับ

4. เชื่อมความระหว่างสุภาษิตที่นำมาเชื่อม กับสุภาษิตบทตั้งให้สนิทติดต่อสมเรื่องกันด้วยเหตุผล
หมายถึงว่าให้เราอธิบายเชื่อมความระหว่าสุภาษิตบทตั้งที่เป็นโจทย์ของสนามหลวง กับสุภาษิตเชื่อมที่เรานำมาเองก็ให้เราอธิบายเนื้อหาของสุภาษิตนั้นให้สนิทติดต่อกันเป็นเรื่องเป็นราวด้วยเหตุ ซึ้งทั้งสองสุภาษิตนั้นมีเนื้อหาพูดถึงเรื่องเดียวกันหรือใกล้เคียงกัน

กรณีสุภาษิตที่เราเตรียมไว้เป็นสุภาษิตเชื่อม ซึ่งเราอาจจะเตรียมไว้สัก 3 สุภาษิต เราก็ต้องเลือกสุภาษิตที่มีความหมายหรือมีเนื้อความเกี่ยวเนื่องสัมพันธ์กับสุภาษิตตั้งให้มากที่สุดในการนำมาเชื่อมความอธิบายเพื่อที่จะให้พุทธสุภาษิตทั้งสองมีความสนิทติดต่อสมเรื่องกันด้วยเหตุผล

แต่ในกรณีที่สุภาษิตที่เราเตรียมไว้เป็นสุภาษิตเชื่อมนั้น ไม่มีสักสุภาษิตเลยที่เข้ากันหรือเชื่อมความกับสุภาษิตบทตั้งได้เลย จะทำอย่างไรละ0.0 ก็ให้เลือกสักสุภาษิตที่เตรียมไว้นั้นแหล่ะมาเชื่อมแล้วก็อธิบายดีๆ มีเหตุผลดีๆ แล้วก็พยายามเขียนให้มีความสัมพันธ์กับสุภาษิตตั้งอย่างไรให้ชัดเจนนั้นเองครับ (ถ้าไม่อยากเจอปัญหาแบบนี้แนะนำให้เตรียมสุภาษิตไว้สัก2-3สุภาษิตครับผม เราจะได้เลือกใช้สุภาษิตที่มีความสนิทต่อกับสุภาษิตตั้งได้อิอิ)

5. ให้เขียนลงในกระดาษสอบ ตั้งแต่ หน้า (เว้นบรรทัด) ขึ้นไป
บางคนพอรู้ว่าต้องเขียนตั้งแต่ 2 หน้ากระดาษขึ้นไปก็หนักใจเลย..แต่อย่าตกใจนะครับ เพราะเราอย่าลืมว่าการเขียนเรียงความแก้กระทู้ธรรมนั้นต้องเว้นบรรทัดด้วยทุกครั้ง และยังต้องเขียนตามโครงสร้างรูปแบบการเขียนอีก ฉะนั้น 2 หน้ายังน้อยไปนะ เผลอๆ เราอาจจะได้ตั้ง 4 หน้าเลยก็ได้ (ถ้าไม่เชื่อก็ลองเขียนแต่งกระทู้ธรรมดูครับ)
- See more at: http://www.ธรรมศึกษา.com/2013/07/writing-kratoo-thamtri.html#sthash.yzIiDhAV.dpuf

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น